การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างรวดเร็วพนักงานในองค์กร ไม่สามารถรอจนกระทั่ง
ขั้นตอนการทำงานทุกอย่างชัดเจนแล้วจึงลงมือดำเนินการองค์กรคาดหวังให้พนักงานสามารถทำงานได้บนสภาพความไม่แน่นอนของธุรกิจ
การเตรียมการณ์ที่ดีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
และการเรียนรู้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเพื่อเตรียมการณ์ป้องกันนั้น
จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับคนทำงานในปัจจุบัน ซึ่งการทำงานตามหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายนั้นไม่เพียงพอแล้วสำหรับการแข่งขันในปัจจุบัน
Innovation หรือ นวัตรกรรมต่างๆ
เกิดขึ้นมากมายในธุรกิจปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า
และสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของธุรกิจ
คนทำงานจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับวิธีการทำงานใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ
กฎระเบียบที่ตนเองไม่คุ้นเคย หรือแม้แต่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามแบบใหม่ๆ
การเตรียมการณ์ที่ดี หรือการทำงานแบบ Proactive จึงมีความจำเป็นในการปรับตัวเข้ากับ
Innovation ต่างๆ
เส้นแบ่งแยกขอบเขตของงานกับชีวิตส่วนตัวนั้น
น้อยลง การทำงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบเพียงอย่างเดียวนั้น
ไม่เพียงพอต่อการแข่งขันในปัจจุบัน
คนรุ่นใหม่ต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยตนเอง ต้องรักงานที่ตนเองทำและทำงานที่ตนเองรัก
ดังนั้น หากรอให้ผู้บังคับบัญชามาสั่งการในสิ่งที่เรา สมควรทำ
สมควรคิดด้วยตัวเราเองได้ หรือต้องรอให้ผู้อื่นมากำหนดหน้าที่การทำงานให้เรา
โดยเราไม่เข้าใจจุดประสงค์ของงาน และไม่ Proactive กับงานของตนเอง
เราก็ไม่สามารถสร้างความแตกต่างและความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของเราได้
ตัวอย่างของการทำงานแบบเชิงรุก หรือ Proactive
นั้น มีให้เห็นมากมาย เช่น นางพยาบาลผู้ซึ่งมีหน้าที่ติดตามคุณหมอ
เพื่อออกตรวจคนไข้ เตรียมข้อมูลอาการป่วยและประวัติต่างๆของคนไข้
รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคุณหมอในการทำงาน
ทุกครั้งก่อนที่คุณหมอจะมาถึง ผู้จัดการโรงงาน
ทำการวิเคราะห์ปัญหาของเครื่องจักรและออกแบบวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรโดยการปรับปรุงวิธีการเดิมๆที่เคยใช้กันมานาน
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง โดยที่ไม่ต้องให้ผู้บริหารมาสั่งให้ทำ
ที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ
จัดประชุมผู้บริหารในแผนกต่างๆเพื่อขอความเห็นในแผนการบริหารธุรกิจขององค์กร
ที่ถูกออกแบบมาโดยทีมงานที่ปรึกษา
และต้องการความเห็นอันเป็นประโยชน์เพื่อนำไปปรับปรุง
โดยไม่ต้องรอให้ผู้จัดการแผนกต่างๆร้องขอ
การทำงานแบบ Proactive
นั้น มีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรอย่างมาก
ผู้บริหารควรปลูกฝังวิธีคิดเชิงรุกให้ทุกคนในองค์กร
เพื่อพัฒนาจากการทำงานแบบตั้งรับ หรือ Reactive ไปสู่การทำงานแบบเชิงรุก
หรือ Proactive และหากจะเปรียบเทียบระดับความ Proactive
ของพนักงาน ก็อาจจะสามารถอธิบายได้ด้วยตัวอย่างดังกล่าว
ธนาคารแห่งหนึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบันทึกข้อมูลฝากถอนเงินของลูกค้ามานาน
และพบว่า ระบบดังกล่าวจะทำงานช้าลงเรื่อยๆทุกวัน จนกระทั่งหยุดให้บริการเมื่อครบ 3 วัน และหลังจากฝ่ายงานไอทีของธนาคารทำการปิดเปิดระบบใหม่ระบบก็จะกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมและช้าลงเรื่อยๆ
จนกระทั่งหยุดให้บริการเมื่อครบ 3 วัน อีกครั้ง ผู้บริหารฝ่ายไอที
จึงขอความเห็นจากทีมงานและได้วิธีแก้ไขเป็น 3 ทางเลือกดังนี้
สมชายเสนอให้ ทำการปิดเปิดระบบใหม่
ทุกวันตอนกลางคืน เพื่อให้ระบบมีการเริ่มต้นใหม่ทุกวัน และไม่หยุดให้บริการระหว่างวัน
สมหญิงเสนอว่า
ในระหว่างที่ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบให้ทำการปิดเปิดระบบใหม่ ทุกวันตอนกลางคืน
เพื่อให้ระบบมีการเริ่มต้นใหม่ทุกวัน รวมถึงต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ระบบช้าลงเรื่อยๆ
และแก้ปัญหาดังกล่าวที่สาเหตุ เพื่อให้ระบบดังกล่าวทำงานได้โดยที่ไม่ต้องมีการปิดเปิดระบบทุกคืน
สมศักดิ์ เสนอว่า
ในระหว่างที่ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบให้ทำการปิดเปิดระบบใหม่ทุกวันตอนกลางคืน
เพื่อให้ระบบมีการเริ่มต้นใหม่ทุกวัน รวมถึงต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ระบบช้าลงเรื่อยๆ
และแก้ปัญหาดังกล่าวที่สาเหตุ
เพื่อให้ระบบทำงานได้โดยที่ไม่ต้องมีการปิดเปิดระบบทุกคืน จากนั้นให้นำ สาเหตุที่ค้นพบดังกล่าวไปทำการแก้ไขผิดพลาดนี้ที่เกิดขึ้นกับระบบอื่นๆของธนาคารและกำหนดเป็นมาตรฐาน
สำหรับการสร้างระบบใหม่ๆ ให้แก้ไขข้อผิดพลาดนี้ตั้งแต่ตอนสร้างระบบ
จากตัวอย่างข้างต้น จะพบว่า
การทำงานแบบ Proactive นั้น จะช่วยลดปัญหาในการทำงาน
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงพัฒนางานให้ดีขึ้นระดับการ Proactive ของพฤติกรรมการทำงาน ส่งผลโดยตรงต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเอง
และการพัฒนาขององค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น