31.1.62

ทฤษฎีการเรียนการสอนของบลูม

             ทฤษฎีการสอน (Teaching Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่ง ๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อย ๆ หลายหลักการ
1. ทฤษฎีของบลูม (Bloom's Theory of Learning) ได้แบ่งความสามารถในการเรียนรู้ของคนเป็น 6 ระดัง ดังนี้
              ระดับที่ 1 ขั้นมีความรู้พื้นฐาน (Knowledge)
              ระดับที่ 2 ขั้นความเข้าใจ (Comprehension)
              ระดับที่ 3 ขั้นนำไปใช้ Application)
              ระดับที่ 4 ขั้นวิเคราะห์ความรู้ (Analysis)
              ระดับที่ 5 ขั้นสังเคราะห์ (Synthesis)
              ระดับที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation)

               บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะ
ประสบ ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้น ฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives (อติญาณ์ ศรเกษตริน.  2543 :72-74 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 ; Bloom.  1976 : 18)
           1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) : เป็นจุดประสงค์ด้านเชาวน์ปัญญา หรือด้านความรู้ ความคิด ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถที่ซับซ้อนจากน้อยไปหามากดังนี้
                1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
                1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
                1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
                1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
                1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
                1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
การประยุกต์ใช้ในทฤษฎีของบลูม
                  ตามทฤษฎีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กที่มีความสามารถต่างกันในห้องเรียนเดียวกันได้โดยการสอนเรื่องเดียวกันในหลายๆ ระดับตามความง่ายและยาก โดยจัดเป็นขั้นตอนตามลำดับอาจแบ่งเป็น ระดับ 1-2, ระดับ 3-4 และระดับ 5-6 ซึ่งการสอนเช่นนี้คงจะต้องสังเกตพฤติกรรมเด็กพร้อมกับทำความเข้าใจเด็กเป็นรายบุคคลด้วย
               2. ทฤษฎีองค์ประกอบทางสติปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner's Theory of Multiple Intelligence)
การ์ดเนอร์ (Gardner : 1985) กล่าวว่า ความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งเป็น 7 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ความสามารถทางดนตรี (Musicle)
              ด้านที่ 2 ความสามารถทางภาษา (Linguistic)
              ด้านที่ 3 ความสามารถทางการรับรู้โดยการสัมผัส (Kinesthetic)
              ด้านที่ 4 ความสามารถทางคณิตศาสตร์ (Mathematical)
              ด้านที่ 5 ความสามารถทางการกะระยะพื้นที่ (Spatial)
              ด้านที่ 6 ความสามารถทางด้านศีลธรรมจรรยา (Moralistic)
              ด้านที่ 7 ความสามารถทางด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal)
              มนุษย์ทุกคนมิใช่จะต้องมีความสามารถในทุกๆ ด้านตามที่กล่าวมาแล้ว บางคนอาจถนัดในเรื่องเดียว บางคนอาจมีความถนัดสองด้าน หรือบางคนอาจมีความสามารถหลายๆ ด้านรวมกันก็ได้
             ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้จาก การเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory)ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนแรกพูดถึง ความสามารถในการจำระยะสั้นของสมอง ซึ่งมีขีดจำกัด สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) ได้ประมาณ 7 ข้อมูล หรือ 5-9 คือ 7 บวกลบ 2 ข้อมูลก้อนนี้เป็นข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือคำพูด หรือตำแหน่งของตัวหมากรุก หรือใบหน้าคน เป็นต้น
ส่วนที่ 2 พูดถึง TOTE มาจาก Test-Operate-Test-Exit ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย มิลเลอร์ (Miller) และคณะ กล่าวว่า ต้องมีการประเมินว่า ได้มีการกระทำที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหาก บอกว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็จะต้องมีการกระทำ หรือปฏิบัติการใหม่เพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน
 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ  ( Ivan Petrovich Pavlop ) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม
  ธรรมชาติ 
สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูก
  วางเงื่อนไขแล้ว
             การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
             การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจาก
             การเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
    การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
    การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
    การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
ประโยชน์ที่ได้รับจากทฤษฎีนี้
         ก.  ใช้ในการคิดหาความสามารถในการสัมผัสและการรับรู้
         ข.  ใช้ในการแก้พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
         ค.  ใช้ในการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับอารมณ์ และเจตคติ
๒)  การนำหลักการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟไปใช้ในการเรียนการสอน
         ก.  ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) ความแตกต่างทางด้านอารมณ์ผู้เรียนตอบสนองได้ไม่เท่ากัน ในแง่นี้จำเป็นมากที่ครูต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ของผู้เรียนว่า จะสร้างอารมณ์ให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยการสนใจที่จะเรียนได้อย่างไร
        ข.  การวางเงื่อนไข (Conditioning) การวางเงื่อนไขเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียน หรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนหรือแม้แต่ตัวครูได้ ด้วยเหตุนี้ เราอาจกล่าวได้ว่าหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของครูเป็นผู้สร้างสภาวะทางอารมณ์นั่นเอง
         ค.  การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข (Extinction) ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวครู  เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ครูทำโทษเขา โดยปกติก็มักจะพยายามมิให้ UCS. เกิดขึ้นหรือทำให้หายไป นอกจากนี้ก็อาจใช้วิธีลดความแรงของ UCS. ให้น้อยลงจนไม่อยู่ในระดับนี้จะทำให้เกิดพฤติกรรมทางอารมณ์นั้นขึ้นได้
        ง.   การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง (Generalization และ Discrimination) การสรุปความเหมือนนั้นเป็นดาบสองคม คือ อาจเป็นในด้านที่เป็นโทษและเป็นคุณ ในด้านที่เป็นโทษก็เช่น การที่นักเรียนเกลียดครูสตรีคนใดคนหนึ่งแล้วก็จะเกลียดครูสตรีหมดทุกคน เป็นต้น ถ้าหากนักเรียนเกิดการสรุปความเหมือนในแง่ลบนี้แล้ว ครูจะหาทางลดให้ CR อันเป็นการสรุป กฎเกณฑ์ที่ผิด ๆ หายไป ส่วนในด้านที่เป็นคุณนั้น ครูควรส่งเสริมให้มาก นักเรียนมีโอกาสพบ สิ่งเร้าใหม่ ๆ เพื่อจะได้ใช้ความรู้และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้กว้างขวางมากขึ้น
ตัวอย่างเกี่ยวกับการสรุปความเหมือนที่ใช้ในการสอนนี้ คือ การอ่านและการสะกดคำนักเรียนที่สามารถสะกดคำว่า  “ round ”  เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง O - U - N -  D  ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า around , found , bound , sound , ground , mound , pound แต่คำว่า wound (ซึ่งหมายถึงบาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง O - U - N -  D  และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม (Discrimination
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์
๑)    หลักการและแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์
           ก.  เกี่ยวกับการวัดพฤติกรรมตอบสนอง สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ               ตอบสนอง (Response rate) นั่นเอง
           ข.  อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง  สกินเนอร์ เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจากการเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้น แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง (Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง (Nonreinforcer)
            ค.  ประเภทของตัวเสริมแรง ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น  ๒ ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
            (๑)    ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น   เช่น  อาหาร  คำชมเชย  ฯลฯ
            (๒)   ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น   เสียงดัง   แสงสว่างจ้า   คำตำหนิ   ร้อนหรือเย็นเกินไป  ฯลฯ
            (๓)   ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary  Reinforcer) เป็นสิ่งเร้าที่จะสนองความต้องการทางอินทรีย์โดยตรง ซึ่งเปรียบได้กับ UCS. ในทฤษฎีของพาฟลอฟ  เช่น เมื่อเกิดความต้องการอาหาร  อาหารก็จะเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิที่จะลดความหิวลง เป็นต้น
ลำดับขั้นของการลดแรงขับของตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ดังนี้
           ก)    ความไม่สมดุลย์ในอินทรีย์ ก่อให้เกิดความต้องการ
           ข)    ความต้องการจะทำให้เกิดพลังหรือแรงขับ (drive) ที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรม
           ค)    มีพฤติกรรมเพื่อจะมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง
          ง)    ถึงเป้าหมาย หรือได้รับสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ได้รับที่เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงที่จะเป็นรางวัลที่จะมีผลให้อยากทำซ้ำ และมีพฤติกรรมที่เข้มข้นในกิจกรรมซ้ำ ๆ นั้น
          (๔)   ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ โดยปกติแล้วตัวเสริมแรงประเภทนี้เป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Natural Stimulus)  สิ่งเร้าที่เป็นกลางนี้ เมื่อนำเข้าคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิบ่อย ๆ เข้า    สิ่งเร้าซึ่งแต่เดิมเป็นกลางก็กลายเป็นตัวเสริมแรง และจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เราเรียกตัวเสริมแรงชนิดนี้ว่า ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น การทดลองของสกินเนอร์ โดยจะปรากฎว่า เมื่อหนูกดคานจะมีแสงไฟสว่างขึ้น และมีอาหารตกลงมา แสงไฟซึ่งแต่เดิมเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมาเมื่อนำเข้าคู่กับอาหาร (ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ) บ่อย ๆ แสงไฟก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่นเดียวกับอาหาร แสงไฟจึงเป็นตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
            (๕)   ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedules of Reinfarcement)                                                                 สภาพการณ์ที่สกินเนอร์พบว่าใช้ได้ผล ในการควบคุมอัตราการตอบสนองก็ถึงการกำหนดระยะเวลา (Schedules) ของการเสริมแรง การเสริมแรงแบ่งเป็น ๔ แบบด้วยกัน คือ
             ก)    Fixed Ratio เป็นแบบที่ผู้ทดลองจะกำหนดแน่นอนลงไปว่าจะให้การ                 เสริมแรง ๑ ครั้ง ต่อการตอบสนองกี่ครั้ง หรือตอบสนองกี่ครั้งจึงจะให้รางวัล เช่น อาจกำหนดว่า ถ้ากดคานทุก ๆ ๕ ครั้ง จะให้อาหารหล่นลงมา ๑ ก้อน (นั้นคืออาหารจะหล่นลงมาเมื่อหนูกดคานครั้งที่ ๕๑๐๑๕๒๐.....)
             ข)    Variable Ratio เป็นแบบที่ผู้ทดลองไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไปว่าจะต้องตอบสนองเท่านั้นเท่านี้ครั้งจึงจะได้รับตัวเสริมแรง เช่น อาจให้ตัวเสริมแรงหลังจากที่ผู้ถูกทดลองตอบสนอง ครั้งที่ ๔๑๒๑๘๒๒..... เป็นต้น
             ค)    Fixed Interval เป็นแบบที่ผู้ทดลองกำหนดเวลาเป็นมาตรฐานว่าจะให้ตัวเสริมแรงเมื่อไร เช่น อาจกำหนดว่าจะให้ตัวเสริมแรงทุก ๆ ๕ นาที (คือให้ในนาทีที่ ๕๑๐๑๕๒๐.....)
             ง)    Variable Interval เป็นแบบที่ผู้ทดลองไม่กำหนดให้แน่นอนลงไปว่าจะให้ตัวเสริมแรงเมื่อใด แต่กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ว่าจะให้การเสริมแรงกี่ครั้ง เช่น อาจให้ตัวเสริมแรงในนาทีที่ ๔๑๒๑๔..... เป็นต้น)
             ๒)  ประโยชน์ที่ได้รับจากทฤษฎีนี้
            ก.  ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping Behavior) หลักสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ คือ เราสามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะเมื่อมีการตอบสนองที่ต้องการ เพื่อให้กลายเป็นนิสัยติดตัวต่อไป อาจนำไปใช้ในการปลูกฝังบุคลิกภาพของบุคคลให้มีพฤติกรรมตามแบบที่ต้องการได้
           ข.  ใช้วางเงื่อนไขเพื่อปรับปรุงพฤติกรรม การเสริมแรงมีส่วนช่วยให้คนเรามีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้ และขณะเดียวกันการไม่ให้การเสริมแรงก็จะช่วยให้ลดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้เช่นเดียวกัน
            ค.  ใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป (Programed Learning) หรือบทเรียนโปรแกรมและเครื่องสอน (Teaching Machine)    
            ๓)   การนำหลักการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ไปใช้ในการเรียนการสอน แนวคิดที่สำคัญประการหนึ่งที่ได้จากทฤษฎีของสกินเนอร์ คือ การตั้งจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม คือจะต้องตั้ง                จุดมุ่งหมายในรูปของพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ถ้าต้องการฝึกให้ผู้เรียนเป็นบุคคลประเภทสร้างสรรค์ก็จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าบุคคลประเภทดังกล่าวสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือถ้าจะสอนให้นักเรียนเป็นนักประวัติศาสตร์ก็บอกได้ว่าเขาจะทำอะไรได้เมื่อเขาเรียนผ่านพ้นไปแล้ว ถ้าครูไม่สามารถตั้งจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้ ครูก็ไม่อาจบอกได้ว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวังหรือไม่ และที่สำคัญก็คือครูจะไม่อาจให้การเสริมแรงได้อย่างเหมาะสมเพราะไม่ทราบว่าจะให้การเสริมแรงหลังจากที่ผู้เรียนมีพฤติกรรมเช่นใด
 ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดด์
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่องโยงของ ธอร์นไดด์ มีดังนี้
              ๑)    ลักษณะการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Eror)
              ๒)  กฎการเรียนรู้ของ ธอร์นไดด์ 
ธอร์นไดด์ ได้เห็นกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ    กฎด้วยกันคือ กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) และกฎแห่งพอใจ (Low of Effect)                    
ก.  กฎแห่งความพร้อม  กฎข้อนี้มีใจความสรุปว่า
     -    เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ
     -    เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
     -    เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแต่เขาต้องทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
ข.  กฎแห่งการฝึกหัด  แบ่งเป็น    กฎย่อย คือ
      -    กฎแห่งการได้ใช้ (Law of Use) มีใจความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งขึ้นเมื่อได้ทำบ่อย ๆ
      -    กฎแห่งการไม่ได้ใช้ (Law of Disuse) มีใจความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองจะอ่อนกำลังลง   เมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมีการขาดตอนหรือไม่ได้ทำบ่อย ๆ
ค.  กฎแห่งความพอใจ
กฎข้อนี้นับว่าเป็นกฎที่สำคัญและได้รับความสนใจจาก ธอร์นไดด์  มากที่สุด   กฎนี้มีใจความว่า พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งหรืออ่อนกำลังย่อมขึ้นอยู่กับผลต่อเนื่องหลังจากที่ได้ตอบสนองไปแล้วรางวัล จะมีผลให้พันธะสิ่งเร้าและการตอบสนองเข้มแข็งขึ้น ส่วนการทำโทษนั้นจะไม่มีผลใด ๆ ต่อความเข้มแข็งหรือการอ่อนกำลังของพันธะระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
นอกจากกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ ๆ ทั้ง ๓ กฎ นี้แล้วธอร์นไดด์ ยังได้ตั้งกฎการเรียนรู้ย่อย อีก ๕ กฎ คือ
       ๑.    การตอบสนองมากรูป (Law of multiple response)
       ๒.   การตั้งจุดมุ่งหมาย (Law of Set or Attitude)
       ๓.   การเลือกการตอบสนอง (Law of Partial Activity)
       ๔.   การนำความรู้เดิมไปใช้แก้ปัญหาใหม่ (Law of Assimilation or Analogy)
       ๕.   การย้ายความสัมพันธ์        (Law of Set or Associative Shifting)
ง.   การถ่ายโอนการเรียนรู้    (Transfer of Learning)  จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมในสถานการณ์หนึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมในอีกสถานการณ์หนึ่ง การส่งผลนั้นอาจจะอยู่ในรูปของการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้สามารถเรียนได้ดีขึ้น (การถ่ายโอนทางบวก) หรืออาจเป็นการขัดขวางทำให้เรียนรู้หรือประกอบกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งได้ยากหรือช้าลง (การถ่ายโอนทางลบ) ก็ได้ การถ่ายโอนการเรียนรู้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนการสอน
จ.  ประโยชน์และการนำหลักการทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของ ธอร์นไดด์ ไปใช้ในการเรียนการสอน
ธอร์นไดด์ มักเน้นอยู่เสมอว่าการสอนในชั้นเรียนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน การตั้งจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก็หมายถึงการตั้งจุดมุ่งหมายที่สังเกตการตอบสนองได้และครูจะต้อง จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วย ๆ ให้เขาเรียนทีละหน่วย เพื่อที่ผู้เรียนจะได้เกิดความรู้สึกพอใจในผลที่เขาเรียนในแต่ละหน่วยนั้น ธอร์นไดด์ ย้ำว่าการสอนแต่ละหน่วยก็ต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากเสมอ
การสร้างแรงจูงใจนับว่าสำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความพอใจเมื่อเขาได้รับสิ่งที่ต้องการหรือรางวัล รางวัลจึงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียน นั่นก็คือในขั้นแรกครูจึงต้องสร้างแรงจูงใจภายนอกให้กับผู้เรียน ครูจะต้องให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำหรือผลการเรียน เพราะการรู้ผลจะทำให้ผู้เรียนทราบว่าการกระทำนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี พอใจหรือไม่พอใจ ถ้าการกระทำนั้นผิดหรือไม่เป็นที่พอใจเขาก็จะได้รับการ แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รับสิ่งที่เขาพอใจต่อไป
นอกจากนี้ในการเรียนการสอน ครูจะต้องสอนในสิ่งที่คล้ายกับโลกแห่งความจริงที่เขาจะออกไปเผชิญให้มากที่สุด เพื่อที่นักเรียนจะได้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการเรียนในชั้นเรียนไปสู่สังคมภายนอกได้อย่างดี
ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive theory or gestalt Psychologists)
               กลุ่มเกสตัลท์ได้เห็นความสำคัญของกรรมพันธุ์มากกว่าสิ่งแวดล้อม กลุ่มนี้ถือว่าความสามารถของอินทรีย์เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด ตรงข้ามกับกลุ่มพฤติกรรมที่มีความเห็นว่าอินทรีย์มีแนวโน้มที่จะจัดหมวดหมู่ของสิ่งของตามประสบการณ์ของเขา ซึ่งได้เห็นอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมากกว่ากรรมพันธุ์
การรับรู้ (Perception) ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ พื้นฐานของการนำไปใช้ เราจะจัดระเบียบหมวดหมู่ หรือรูปร่างของสิ่งที่รับรู้ก็คือการแยกสนามการเรียนรู้ออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นภาพ (Figure) ซึ่งเป็นส่วนที่เด่นเป็นจุดศูนย์รวมของสิ่งที่เราสนใจ และอีกส่วนหนึ่งคือ พื้น (Ground) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของภาพเป็นส่วนที่รองรับภาพ
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์มีความสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้นและได้ตั้งกฎการจัดระเบียบ หมวดหมู่ หรือรูปร่างของสิ่งที่รับรู้ขึ้นมากมาย แต่กฎที่สำคัญซึ่งจะกล่าวถึงกันอยู่เสมอมีดังต่อไปนี้
๑)    กฎความใกล้ชิด (Principle of Proximity) กฎนี้กล่าวว่าสิ่งเร้าใด ๆ ที่อยู่ใกล้กันเรามักจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
              ๒)  กฎความคล้ายกัน (Principle of Similarity) กฎนี้มีใจความว่าสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตามที่มีลักษณะรูปร่างขนาดหรือสีคล้ายๆ กันเรามักจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
              ๓)   กฎความต่อเนื่อง (Principle of Continuity) ใจความสำคัญของกฎนี้คือสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะมีทิศทางไปในทางเดียวกัน หรือมีแบบแผนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งด้วยกัน ก็จะทำให้เรารับรู้เป็นรูปร่าง หรือเป็นหมวดหมู่นั้น
              ๔)   กฎอินคลูซิฟ (Principle of Inclusiveness) กฎนี้กล่าวว่าถ้าหากมีภาพเล็กประกอบอยู่ในภาพใหญ่ เราก็มีแนวโน้มที่จะรับรู้ภาพใหญ่มากกว่าที่จะรับรู้ภาพเล็ก หรือภาพที่เรามองเห็นเป็นรูปร่างนั้น มักจะเป็นภาพที่ประกอบด้วยจำนวนของสิ่งเร้าที่มากที่สุดหรือใหญ่ที่สุดเสมอ
              ๕)   กฎการเคลื่อนไหวไปในทิศทางร่วมกัน (Principle of Common Fate)  ใจความของกฎนี้ มีว่า สิ่งใด ๆ ที่เคลื่อนไหวไปทิศทางร่วมกันหรือมีจุดหมายร่วมกันเราก็มีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกัน  กฎนี้แตกต่างจากความต่อเนื่องตรงที่ว่า กฎความต่อเนื่องนั้นเป็นการรับรู้ภาพสิ่งที่ไม่ได้เคลื่อนไหวแต่เรามองคล้ายกับว่ามันเคลื่อนไหว แต่กฎข้อนี้สิ่งเร้าที่เรารับรู้นั้นมีการเคลื่อนไหวจริง
               ๖)    กฎการเคลื่อนไหวไปในทิศทางร่วมกัน (Principle of Closure) บางครั้งเราก็เรียกกฎนี้ว่ากฎความสมบูรณ์ เพราะเรามักจะมองภาพที่ขาดความสมบูรณ์ให้เป็นภาพที่สมบูรณ์หรือมองเส้นที่ขาดตอนไปให้ติดหรือต่อกันเป็นรูปร่างขึ้นมาได้
ประโยชน์ และการนำหลักทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ไปใช้ในการเรียนการสอน
               ในด้านการเรียนการสอนตามหลักการมองของกลุ่มเกสตัลท์นั้น ครูและนักเรียนจะต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ครูจะเป็นผู้ช่วยผู้เรียนให้มองเห็นความหมายและเกิดความเข้าใจในเรื่องที่สอนควรจะช่วยให้ผู้เรียนเห็นรูปร่างหรือหมวดหมู่ของสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่มีความหมายผู้เรียนอาจช่วยครูในแง่ของการเสนอความคิดเห็น อภิปราย และวางแผนการเรียนร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนต้องเป็นไปในลักษณะที่ผู้เรียนต้องได้เห็นรูปร่างทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อน แล้วจึงไปเรียนส่วนย่อย ๆ การเรียนในแต่ละวิชาอาจแบ่งออกเป็นหน่วยที่มีความหมาย แต่ละหน่วยก็จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน นอกจากนี้การเรียนการสอนจะต้องเล็งให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าที่จะเน้นการเรียนแบบท่องจำ เพราะการเรียนด้วยความเข้าใจและรู้ความหมายจะมีผลให้ความรู้ยั่งยืนถาวรมากกว่าเรียนแบบท่องจำอย่างนกแก้ว
แนวคิดที่ 2 การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
        "การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน ทั้งทางด้านปริมาณและด้านคุณภาพ คือนอกจากผู้เรียนจะมีสิ่งที่เรียนรู้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังสามารถจัดรวบรวม เรียบเรียงสิ่งที่เรียนรู้เหล่านั้นให้เป็นระเบียบ เพื่อให้สามารถเรียกกลับมาใช้ได้ตามที่ต้องการ"(Mayer,2002)
        "การเรียนรู้ (Learning)ว่า เป็นการได้มา (Acquisition) หรือ การจัดระเบียบหรือหมวดหมู่ใหม่ (Reorganization) ของโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structures) โดยผ่านกระบวนการประมวลผลของข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูล" (Good and Brophy,1990,PP,187)
        "การเรียนรู้ (Learning)ว่า เป็นการได้มา (Acquisition) ซึ่งความรู้ ซึ่งมาจากพื้นฐานที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้นำข้อมูลข่าวสารใหม่ไปไว้ในความจำระยะยาว"(Mayer,2002)
        "การเรียนรู้ (Learning) เป็น ระดับของการถ่ายโยงความรู้และทักษะเดิม หรือสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วไปสู่บริบทและปัญหาใหม่ "
        แนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เริ่มตั้งแต่ 1950s 1960s 1970s โดยทำการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ในห้องทดลอง บทบาทของผู้เรียน เป็นผู้รับข้อมูลข่าวสาร งานของครูผู้สอนจะเป็นผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสาร เช่น ตำราเรียน การบรรยาย ตามแนวคิดนี้ข้อมูลข่าวสารจะถูกถ่ายทอดโดยตรงจากครูผู้สอนไปยังผู้เรียน บทบาทของนักออกแบบการสอน หรือครู จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนจะต้องดูดซับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก เช่น ตำรา การบรรยาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย(Mayer,2002)
    แนวคิดที่ 3 การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิส
        "การเรียนรู้ (Learning) ว่า เป็นการสร้างความรู้(Knowledge construction) ซึ่งมาจากพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างสิ่งที่แทนความรู้ในความจำในระยะทำงาน(Working memory) อย่างตื่นตัว
        แนวคิดนี้ดังกล่าวข้างต้นเริ่มตั้งแต่ 1980s และ1990s โดยทำการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสภาพบริบทการเรียนรู้ที่แท้จริงเพิ่มมากขึ้น ภายใต้แนวคิดการสร้างความรู้ บทบาทของผู้เรียน เป็นผู้ที่ลงมือกระทำ ในขณะที่ครูผู้สอนเป็นผู้แนะแนวทางพุทธิปัญญา ซึ่งจะจัดแนะแนว และเป็นโมเดลในภารกิจการเรียนตามสภาพจริง บทบาทของนักออกแบบการสอน หรือครู จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับเนื้อหาทางวิชาการ รวมถึงการทำให้เกิด กระบวนการในการเลือก จัดหมวดหมู่ และการบูรณาการ ข้อมูลข่าวสาร (Mayer, 2002)
        จากแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆทั้ง 3 แนวคิดดังกล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ โดยมีครูทำหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่ตอบสนองกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
        จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เน้น
·       การพัฒนากระบวนการคิดอย่างอิสระ
·       สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
·       เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองโดยใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย คือสามารถคิดแบบองค์รวม เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็นทีมเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย โดยมีเป้าหมายให้คนไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
        เมื่อกระบวนทัศน์ (Paradigm) เกี่ยวกับ การสอน เปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้ มาสู่การเน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษา ตลอดจน สื่อการสอนจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากเดิมที่เป็น สื่อการสอน มาเป็น สื่อการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ไม่ได้มุ่งเพียงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ได้แก่ ความสามารถคิดแบบองค์รวม เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็นทีม ตลอดจนความสามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อที่สามารถแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมและ


การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้


Joyce and weil, (1996 : 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนมุ่งเน้นการให้ ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วย ให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนการสอน โดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้ง ทางด้านเนื้อหา ความรู้ และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (academic learning) เป็น ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80% ประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน สามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิด ความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าวแสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรง ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญๆ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียน]" คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการเก็บของ ผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน

ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้ หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและ สกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนำเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่าง ประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (structured practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับ ให้การ เสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ (guided practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการ เรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียน และ ช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ 8.5 496 แล้ว ผู้สอนควร ปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่ จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้ง ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจํากัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตาม
ความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอนได้แก่
การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
การนำเสนอข้อมูลใหม่
การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับและการประยุกต์ใช้
ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
สร้างแรงจูงใจผู้เรียนให้มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 2  การนำเสนอข้อมูลหมายให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคำถาม-ถามทีละขั้นตอน
สาธิต  เรียนการสอนที่ซับซ้อนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดด้วยมีเครื่องมือจำกัดและ
คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ตำรา แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูล
สารสนเทศโสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 3  การ การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับและการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและข้อเสนอ
แนะผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคลแม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็
ตามโอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่ : ตอบคําถาม การแก้ปัญหา สร้างโครงสร้าง ต้นแบบวาดแผนภูมิ สาธิตทักษะเป็นต้น
การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง(Construstivist Methods : CLM) มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อนเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริงการเรียนรู้จักวิธีการนี้ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้คิดวิธีแก้ปัญหาทดสอบแนวคิดใหม่ๆการร่วมมือกับผู้เรียนการคิดทบทวนปัญหาและท้ายที่สุดคือเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้นการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเชื่อว่าความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ตามแนวคิดของคอนตรัคติวิสท์(Construstivist) ที่เปลี่ยนแนวคิดในการจัดการศึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ซึ่งระบุจุดประสงค์ (Domains  of objective) ระดับความรู้  (Level of knowledge)และการให้แรงเสริม(Reeinforcement)เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ ความคิด (Cognitive theory) ที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง(construct their own knowledge)จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากประสบการณ์และระเบียบแบบแผนทางความคิดของผู้เรียนแต่ละคนการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่คลุมเครือทฤษฎีการเรียนรู้แบบconstructivism
สนใจศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเองเมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นบุคคลจะใช้โครงสร้างทางปัญญา(Cognitive structure)ที่มีอยู่เดิมตามปฏิสัมพันธ์กับ
สิ่งแวดล้อมหรือเพื่อนๆที่อยู่รอบข้างความขัดแย้งทางปัญญาจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดการต่อ
ไตร่ตรอง (reflection)อันเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนสมมติฐานทางความคิดด้วยเหตุและผลซึ่งนำไปสู่การสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาต่อไป
การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง  (Construstivist Methods : CLM)
เชื่อว่าความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบุคคลและสิ่งแวดล้อมผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างความรู้จากความรู้ที่มาก่อนเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริงในการเรียนรู้ผู้เรียน จะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้วิธีคิดแก้ปัญหา ตรวจสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหาและท้ายที่สุดคือเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ที่ตนเองคิดค้นขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสร้างความต่อเนื่องระหว่างข้อมูลสารสนเทศใหม่ กับความรู้เดิม รู้เป็นผลของการผลิตหรือการสร้างสรรค์ทางปัญญา มนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด ถ้าหากได้ลงมือสร้างความหมายหรือความเข้าใจของตนด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างโครงสร้างความรู้หรือความเข้าใจอย่างแข็งขันและมีเจตนามุ่งมั่นชัดเจน โดยผู้เรียน
จะสลายความขัดแย้ง(Conflict Resolution) หรือความไม่เข้ากันของแนวคิดหรือข้อมูลต่างๆ โดยการพินิจพิเคราะห์คำอธิบายหรือเหตุผลเชิงทฤษฎี มนุษย์สร้างโลกทัดของตนเอง ขึ้นจากประสบการณ์จริงในเวลานั้น และโครงสร้างความรู้เดิมที่อยู่ในรูป Schema มนุษย์ใช้ Schema ในการตีความหรือสร้างความหมายให้กับประสบการณ์หรือข้อมูลใหม่ เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้นจะมีการปรับ Schema ให้มีความครอบคลุม และมีประสิทธิภาพในการตีความที่สูงขึ้น
ในเรื่องกระบวนการเรียนการสอนผู้เรียนมีความสำคัญในฐานะผู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยการสังเกต การวัดหรือประมาณการ การตีความ หรือการกระทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งเหล่านั้น ผู้เรียนเป็นผู้สร้างแนวทางแก้ปัญหา
ของตนเอง ดังนั้น กลุ่มConstrustivis จึงเห็นคุณค่าของความคิดริเริ่มความเป็นอิสระในความคิด
ของผู้เรียน แม่ให้ความสำคัญและอิทธิพลของบริบทการเรียนรู้และภูมิหลังเกี่ยวกับความเชื่อ
และ เจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้
Murphy (1997 : Online ; citing Glasersfield 1999) อธิบายสรุปได้ว่า บุคคลสร้างความรู้
โดยอาศัยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและการสื่อสารในขณะที่ตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนหรือจัดระบบประสบการณ์เดิมของตนเองใหม่ ดังนั้นความรู้
จึงไม่สามารถถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งได้  กลาเซอร์ฟิลด์ อธิบายการเรียนรู้
ว่าไม่เกี่ยวกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง แต่การเรียนรู้เกิดจากการกำกับตนเอง (self -  regulation) และการสร้างมโนทัศน์จากการสะท้อนความคิดซึ่งกันและกัน
murphy ( murphy1997 : Online) รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษาต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สรุปได้ดังนี้
1. กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้มุมมองที่หลากหลายในการนำเสนอความหมายของมโนทัศน์
2. ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายการเรียนของตนเองหรือจุดมุ่งหมายของ
การเรียนการสอนเกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน
3. สอนแสดงบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ผู้กำกับผู้ฝึกฝนอำนวยความสะดวกในการเรียน
ของผู้เรียน
4. จัดบริบทของการเรียน เช่น กิจกรรม โอกาส เครื่องมือ   สภาพแวดล้อม
ที่ส่งเสริมวิธีการคิดและการกำกับและรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
5 . ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความรู้และกำกับการเรียนรู้ของตนเอง
6.  จัดสถานการณ์การเรียน สภาพแวดล้อม ทักษะ เนื้อหาและงานที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน
ตามสภาพที่เป็นจริง
7.  ใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเพื่อยืนยันสภาพการณ์ที่เป็นจริง
8.  ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการเจรจาต่อรองทางสังคมและการเรียนรู้
ร่วมกัน
9.  พิจารณาความรู้เดิม ความเชื่อและทัศนคติของนักเรียนประกอบการจัดกิจกรรม
การเรียน
10.  ส่งเสริมการแก้ปัญหา ทักษะการคิดระดับสูงและความเข้าใจเรื่องที่เรียนอย่างลึกซึ้ง
11.  นำความผิดพลาด ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของนักเรียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ต่อการเรียนรู้
12 . ส่งเสริมให้นักเรียนค้นหาความรู้อย่างอิสระ วางแผนและการดำเนินงานเพื่อให้
บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง
13.  ให้นักเรียนได้เรียนรู้งานที่ซับซ้อน ทักษะและความรู้ที่จำเป็นจากการลงมือ
ปฏิบัติด้วยตนเอง
14.  ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
15.อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียนโดยให้คำแนะนำหรือให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นต้น
16.วัดผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพที่เป็นจริงขณะดำเนินกิจกรรมการเรียนการ
สอนจากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว
Gagnon & Collay (2001 : 2)ได้เสนอแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์  (Construstivist Learning design) วาดประกอบด้วย 6 ส่วนที่สำคัญได้แก่
สถานการณ์ (Situation) การจัดกลุ่ม (Grouping)  การเชื่อมโยง(Bridge) การซักถาม (Question)  การจัดแสดงผลงาน (Exhibit) และการสะท้อนความรู้สึกในการปฏิบัติงาน (Reflection)
โดยในการออกแบบครั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ครูผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ
สะท้อนกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน( Reflection about the process of student learning) กล่าวคือ ครูจะจัดสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนอธิบายเรื่องกระบวนการในการจัดกลุ่ม (Grouping) นักเรียนหรือซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในการอธิบายสถานการณ์พยายามสร้างความเชื่อมโยง
(Bridge) ระหว่างสิ่งที่เป็นความรู้เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่นักเรียนต้องการจะเรียนรู้
สรุปคุณลักษณะของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีดังนี้
1.  ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.   การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.  การมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4.  การจัดสิ่งแวดล้อมกิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริงทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างมีความหมาย
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ดังนั้นตัวทฤษฎีเองไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนไม่มีลำดับขั้นการสอน Henrique (1997) ศึกษาทิดสะดี Honda Civic และตีความผิดคดีนี้โดยพิจารณาจากมุมมองด้าน และตีความผิดคดีนี้โดยพิจารณาจากมุมมอง
ด้านปรัชญา การจิตวิทยา ด้านญาณวิทยาและด้านการเรียนการสอนและจำแนกทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ ได้ 4 แนวคิดได้แก่
1.แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ แบบกระบวนการทางสมองในการประมวลผล
(information processing approach )หรือแนวคิดแบบการประมวลผลข้อมูลนั้นใช้พื้นฐาน
ที่ว่านักเรียนเรียนรู้สิ่งที่เป็นความจริงไม่ว่าจะเรียนรู้จากครูหรือการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้โดยการประมวลผลข้อมูลนี้ใช้หลักว่ามีความจริงที่เป็นสากลที่สามารถวัดและทำเป็นแบบได้
ตามหลักปรัชญาของพอสิทิวิสต์ (positivits philosophical tradition)
2. แนวคิดอินเตอร์เอกทีฟคอนสตรัคติวิสท์ (interactive constructivist approach) แนวคิดแบน อินเทอแรกทีฟคอนสตรัคติวิสต์ เป็นมุมมองที่ว่านักเรียนสร้างความรู้และเรียนรู้เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับกับสิ่งที่ จับต้องได้และผู้คนรอบข้าง
3. แนวคิดคอนสตรัคติวิสท์เชิงสังคม (social constructivist approach) แนวคิดแบบโซซัลคัน สตรักติวิสต์ แนวคิดนี้ใช้หลักการว่าความรู้เกิดขึ้นในระดับชุมชนเมื่อผู้คนที่อยู่ในชุมชนนั้นมีปฏิสัมพันธ์กัน
4. แนวคิดเรดิคอลคอนสตรัคติวิสท์ (radical constructivist approach) แนวคิดแบบแรดิคัลคัน สตรักติวิสต์แนวคิดนี้เชื่อว่าความคิดมาหมายหลากหลายล้วนแต่มีทางที่จะเป็นจริงได้ แนวคิดนี้จึงบอกว่าไม่ มีความคิดใดเป็นจริงมากกว่ากัน
แนวคิดคอนสตรัคติวิสท์ ทั้ง 4 แนวคิด มีข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เหมือนกัน สรุปได้ 3 ประการคือ
1. การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ของ ตน ไม่มีบุคคลใดสามารถเรียนรู้แทนกันได้
2. ความรู้ ความเข้าใจและความเชื่อที่มีอยู่เดิมส่งผลต่อการเรียนรู้
3. ความขัดแย้งทางความคิดเอื้ออำนวยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนทางด้านการศึกษา กล่าวคือ เปลี่ยนจากรูปแบบ การศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งเน้นในเรื่องเชาว์ปัญญา (Intelligence) จุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้ (Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม (Reinforcement) มาเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด (Cognitive theory) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการ เรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ (Constructivist learning) ที่มีความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้าง ความรู้ของตนเอง (Construct their own knowledge) จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gagnon & Col) 2001:1)
ข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์
1. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ เมื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้
2. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ หรือสร้างความหมาย เมื่อผู้เรียนมา กิจกรรม
3. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสังคม เมื่อต้องการนำความหมายที่ตนเองสร้าง ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
การเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองสรุปได้ 3 ชั้น ( https://Academics/Faculty/rhancock/ theory.htm#CM )
1. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
2. การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
3. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่ 1 การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
ผู้เรียนแต่ละคนต่างมีความคิดดั้งเดิมและมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกหรือปรับเปลี่ยนมใน ทัศน์ (แนวคิดดังกล่าว ความคิดของผู้เรียนนั้นท้าทายความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ชักชวนให้ผู้เรียนเปลี่ยนแนวคิดและยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 1
-สัมภาษณ์หรืออภิปรายกลุ่ม
-แบ่งกลุ่มข้อมูลหรือจำแนกข้อมูล
แบ่งกลุ่มข้อมูล เรียงลำดับข้อมูลตามลักษณะบางประการ (เช่น มวลสาร) จำแนกข้อมูล จัดกลุ่มวัตถุโดยใช้ลักษะทางคุณภาพหรือปริมาณ (สี รูปร่ารขนาด)
แผนที่ความคิดหรือแผนผังมโนทัศน์ ระดมสมองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก
เหตุการณ์ที่ขัดแย้ง เหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล
ขั้นตอนที่ 2 การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
การวางแผนแบบร่วมกัน การวางแผนเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง ผู้เรียนได้รับ ข้อมูลว่าจะต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้าง อภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเรียนรู้ ให้ขอบข่าย สาระสำคัญในเรื่องที่เรียนรู้
กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 2
นักจัดการขั้นสูง (advance organizers) ข้อมูลใหม่เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เก่าที่มีอยู่แล้ว ได้อย่างไร
อภิปัญญา (meta-cognition) ผู้เรียนกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เทคนิควิทยาศาสตร์ (techno-scierucing) ใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบคำอธิบาย ตัดสินใจด้วยตนเอง ปรัชญาส่วนบุคคล การใช้ความคิดอุปมาอุปมัย ใช้แนวคิดที่คุ้นเคยนำแนวคิดแบบอุปมาอุปมัยมาใช้
ขั้นตอนที่ 3 การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นของคนส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ความรู้ถูกทำให้กระจ่างและยืนยันความถูกต้องเมื่อผู้เรียนนำความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้กับ สถานการณ์
ความรู้ได้รับจะถูกปรับแต่งตามข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับ
กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 3
·                     การเรียนรู้แบบร่วมมือ สร้างความเข้าใจและแสดงออกในรูปการใช้โมเดล ช่วยในการสร้างความเข้าใจ และยังสาธิตมโนทัศน์ของความเข้าใจ หลักการ และ กระบวนการที่เป็นเลิศเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และการยืนยันความถูกต้อง ของความรู้
·       การทดลอง/ การออกแบบและเทคโนโลยี ใช้สืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน
·       วิธีการแบบบูรณาการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อ คำถามและแนวคิดอื่น ๆ
·       สาขาวิชา (แนวคิดหลัก)การประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง ช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงสอดคล้องทฤษฎีและการปฏิบัติ