31.1.62

จุดมุ่งหมายการเรียนรู้


คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ดและเบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
                คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
                พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
                ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
             ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน
คือ ข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องนั้น
จุดประสงค์การเรียนการสอน
                หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องที่ฟังเกี่ยวกับการจับใจความสำคัญจากคำพูด  หรืองานเขียนที่มีผู้อ่านให้ฟังแล้ว นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญจากคำบรรยายในเครื่องเสียงไดใจความที่สมบูรณ์ จุดประสงค์การเรียนการสอน มีความจำเป็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนการสอน
ลักษณะของจุดประสงค์การเรียนการสอน แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ
1.จุดประสงค์ทั่วไป
                เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายกว้างไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ จุดประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งมีคำที่เรียกแตกต่างกันออกไป เช่น จุดหมาย ความมุ่งหมาย จุดหมาย วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ตัวอย่างจุดประสงค์ของหลักสูตร ได้แก่
1.เพื่อให้มีนิสัยใฝ่หาความรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์
2.เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย
3.เพื่อปลูกฝังให้มีความภูมิใจในความเป็นไทย
2. จุดประสงค์เฉพาะ
เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดประสงค์ที่ตั้งขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นชัดแจ้ง ตรวจสอบได้ เช่น
1.นักเรียนสามารถอธิบายถึงข้อความปฏิบัติในการฟัง และพูดในโอกาสต่างๆได้
2.นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้
3.นักเรียนสามารถบอกได้ว่าอาหารชนิดใดอยู่ในหมู่ใดได้ถูกต้อง 8 ชนิด
จุดประสงค์เฉพาะ จะชี้ให้เห็นสิ่งที่ต้องการจากการศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจง และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง
จุดประสงค์ทางการศึกษา นอกจากจะแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังกล่าวแล้ว ยังแบ่งตามลักษณะการเรียนรู้ ได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
-พุทธิพิสัย
-จิตพิสัย
-ทักษะพิสัย
-พุทธิพิสัย
เป็นจุดประสงค์ทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจ การใช้ความคิด พุทธิพิสัย แบ่งออกเป็น 6 ระดับ คือ
1. ความรู้ คือ ความสามารถในการจำเนื้อหาความรู้ และระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้
2. ความเข้าใจ คือ การเข้าใจความหมายของเนื้อหาสาระ ไม่ได้จำเพียงอย่างเดียว สามารถแสดงพฤติกรรมความเข้าใจในรูปของการแปลความหมาย ตีความได้
3. การนำไปใช้ คือ การนำเอาเนื้อหาสาระ หลักการ ความคิดรวบยอดและทฤษฎีต่างๆ ไปใช้ในรูปแบบใหม่
4. การวิเคราะห์ คือ ความสามารถในการแยกเนื้อหาให้เป็นส่วนย่อย เพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้างของส่วนย่อยนั้น
5. การสังเคราะห์ คือ ความสามารถที่จะนำองค์ประกอบหรือส่วนย่อยๆเข้ามารวมกันเพื่อให้เป็นภาพที่สมบูรณ์
6. กาประเมินค่า คือ ความสามารถในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆโดยมีผู้ตัดสินกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาเอง หรือเกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนด
จิตพิสัย
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางจิตใจ อารมณ์ ความสนใจ ค่านิยม และคุณธรรม กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเหล่านี้จะเกิดตามลำดับ ดังนี้
1. การรับ คือ การที่นักเรียนได้รับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม
2. การตอบสนอง คือ การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
3. การเห็นคุณค่า คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่รับรู้สิ่งแวดล้อม และมีปฏิกิริยาโต้ตอบ
4. การจัดรวบรวม คือ เป็นการคิดพิจารณา และรวบรวมค่านิยมให้เข้าเป็นระบบค่านิยมหรือสร้างมโนทัศน์ของค่านิยม
ทักษะพิสัย
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว และใช้อวัยวะต่างๆของร่างกาย มีลำดับการพัฒนาทักษะ ดังนี้
1.การเลียนแบบ
2.การทำตามคำบอก
3.การทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม
4.การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ
5.การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ชัดเจนทำให้ครูสามารถหาวิธีสอนได้เหมาะสม
-เลือกสื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่เรียน
-จัดการเรียนการสอนได้เหมาะสม
-เตรียมการวัดผลและประเมินผลได้เหมาะสม
-ทำให้การสอนบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ความหมาย
                จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์การศึกษาที่บ่งบอกถึงการกระทำของนักเรียนอย่างชัดเจน
องค์ประกอบ
    จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน
1.สถานการณ์ที่ครูตั้งขึ้น เพื่อนให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมออกมา
2. พฤติกรรมของนักเรียนที่ครูคาดหวังให้แสดงออกมา
3.เกณฑ์ของระดับความสามารถของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกมา
หลักทั่วไปในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.เขียนสั้นๆ ให้ได้ใจความ
2.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหนึ่งข้อระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดเพียงหนึ่งพฤติกรรม
3.ต้องพฤติกรรมปลายทางที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยนักเรียนเท่านั้น
4.พฤติกรรมที่ระบุในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
5.คำที่ใช้ในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเป็นคำที่มีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจง
แนวปฏิบัติในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.กำหนดจุดประสงค์ในการเรียนโดยทั่วไปก่อน
2.กำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังว่า ผู้เรียนจะแสดงออกหลังจากเกิดการเรียน
กำหนดสถานการณ์หรือเงื่อนไข
1.สถานการณ์ที่เป็นเนื้อหา
2.สถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า
3. สถานการณ์ที่เป็นเงื่อนไข
 กำหนดเกณฑ์
เกณฑ์เป็นส่วนที่ระบุถึงระดับความสามารถของพฤติกรรมที่แสดงออกของนักเรียนในขั้นต่ำสุดที่ครูจะยอมรับได้ว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้จริง
การกำหนดเกณฑ์ของพฤติกรรมที่คาดหวังสามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้
1.กำหนดเกณฑ์เป็นปริมาณ
2.กำหนดเกณฑ์เป็นความเร็ว
เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                เมื่อกำหนดองค์ประกอบทุกส่วนของจุดประสงค์ได้แล้วก็ลงมือเขียน โดยยึดหลักการเขียนที่กล่าวมาแล้ว
พิจารณาทบทวนจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น
                เพื่อดูว่าจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้น ครบถ้วนตามเนื้อหาและการเรียนรู้ด้านต่างๆหรือไม่ มีความชัดเจนที่ผู้อ่านจะอ่านได้เข้าใจตรงกันหรือไม่ มีความเหมาะสมกับลักษณะของนักเรียนหรือไม่
กำหนดจุดประสงค์ในการสอนไปปฏิบัติ
1.กำหนดวิธีสอน
2.กำหนดสื่อการสอน
3.กำหนดขั้นตอนการสอน
4. กำหนดแนวการประเมินผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น