จุดมุ่งหมายมี
2 ลักษณะ คือ
จุดมุ่งหมาย(goals) ที่มีลักษณะกว้างๆ
ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ไม่สามารถวัด หรือสังเกตได้ทันที
จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะ
สังเกตเห็นพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้
บางครั้งเรียกว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ (performance
odjective) จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
จุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ(potential performance) จุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ(typical performance)
การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนสื่อความหมายให้เข้าใจนัยเพียงหนึ่งเดียว
การระบุสมรรถภาพให้ชัดเจน
ควรได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรียนรู้จบรายวิชาแล้วมีความสามารถที่จะทำอะไรได้
โดยที่เอาการเรียนรู้รายวิชานั้น ๆ ยังไม่สามารถทำได้
การเชื่อมโยงอดีตกับอนาคต
ถ้าเป็นไปได้เน้นย้ำมโนทัศน์จากชั้นเรียนที่ผ่านมา
พยายามเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ที่จะเรียนในอนาคต
จุดมุ่งหมายกับการทดสอบ
ถ้าเราเขียนจุดมุ่งหมายได้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาจะทำให้สร้างแบบทดสอบได้ง่าย
ยังสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะทำให้ได้เป็นอย่างดี การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก ABCD
A แทน Audience หมายถึง
ผ็เรียนที่แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายและกำหนดเวลา
B แทน Behavior หมายถึง
พฤติกรรมที่คาดหวังจากผู้เรียนโดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้
C แทน Conditions หมายถึง
สภาพการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้
D แทน Degree หมายถึง
ระดับเกณฑ์การวัดที่กำหนดขึ้นมาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
1. S Sensible 4: Specific จุดมุ่งหมายต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจน จุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
ต้องมีความเป็นไปได้และชี้เฉพาะ
2. M - Measurable จุดมุ่งหมายต้องสามารถวัดผลได้
ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลว่าผลการดำเนินการ เป็นอย่างไร ประสบความสสำเร็จหรือไม่
3. A - Atainable & Assignable จุดมุ่งหมายต้องเป็นไปได้
และผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติ
ได้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
4. R - Reasonable & Realistic จุดมุ่งหมายต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลกันและเป็นไปได้จริง
5. I - Time Available จุดมุ่งหมายต้องมีกำหนดเวลา
เป็นไปได้ตามเวลา เมื่อเวลาเปลี่ยนไปหรือ สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้
จุดมุ่งหมายก็ควรเปลี่ยนไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น