1
ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ
เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล
ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ
2
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer
Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง
ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า
ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน
3
ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า
ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย
เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ
ก็จะมีความกระตือรือร้น
4
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active
Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้
ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้
และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
5 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information
Processing Theory) ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน
คือ ส่วนแรกพูดถึง ความสามารถในการจำระยะสั้นของสมอง ซึ่งมีขีดจำกัด
สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) ได้ประมาณ 7
ข้อมูล หรือ 5-9 คือ 7 บวกลบ
2 ข้อมูลก้อนนี้เป็นข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลข
หรือคำพูด หรือตำแหน่งของตัวหมากรุก หรือใบหน้าคน เป็นต้น ส่วนที่ 2 พูดถึง TOTE มาจาก Test-Operate-Test-Exit ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย มิลเลอร์ (Miller) และคณะ
กล่าวว่า ต้องมีการประเมินว่า ได้มีการกระทำที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหาก
บอกว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็จะต้องมีการกระทำ หรือปฏิบัติการใหม่เพื่อ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
6
ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองหรือทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism)
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้อีกทฤษฎีหนึ่งตามความเห็นของอลัน ชอว์ (Alan
Shaw) กล่าวว่าเคยคิดว่าทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้แต่ความจริงมีมากกว่าการเรียนรู้เพราะสามารถนำไปใช้ในสภาวะการเรียนรู้ในสังคมได้ด้วย
ชอว์ ทำการศึกษาเรื่องรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาเขาเชื่อว่าในระบบการศึกษามีความสำคัญต่อเนื่องไปถึงระบบโครงสร้างของสังคมเด็กที่ได้รับการสอนด้วยวิธีให้อย่างเดียวหรือแบบเดียว
จะเสียโอกาสในการพัฒนาด้านอื่น เช่น เดียวกับสังคมถ้าหากมีรูปแบบแบบเดียวก็จะเสียโอกาสที่จะมีโครงสร้างหรือพัฒนาไปในด้านอื่นๆ
เช่น กัน ชอว์ ได้ให้ความหมายของคำว่าคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ในรูปแบบของพัฒนาการของสังคมและจิตวิทยาว่าเป็นแนวคิดหรือความเข้าใจที่เป็นคอนสตรัคทิวิซึ่ม
(Constructivism)
คือ รูปแบบที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่เป็นผู้รับอย่างเดียว
ดังนั้นผู้เรียน
ก็คือ ผู้สอนนั่นเองแต่ในระบบการศึกษาทุกวันนี้รูปแบบโครงสร้างจะตรงกันข้ามกับ
ความคิดดังกล่าว โดยครูเป็นผู้หยิบยื่นความรู้ให้แล้วกำหนดให้นักเรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น
อย่างไรก็ตาม คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีแตกต่างจาก
คอน-สตรัคทิวิซึ่ม ตรงที่ทฤษฎีคอนสตรัคทิวิซึ่ม คือ ทฤษฎีที่กล่าวว่าความรู้เกิดขึ้นสร้างขึ้นโดยผู้เรียนไม่ใช่เป็นการให้จากผู้สอนหรือครู
ในขณะที่คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีความหมายกว้างกว่านี้ คือ พัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้มีมากกว่าการกระทำหรือ
กิจกรรมเท่านั้นแต่รวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวเด็กเองประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม
ภายนอก หมายความว่าเด็กสามารถเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและเก็บเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างของความรู้ภายในสมองของตัวเอง
ขณะเดียวกันก็สามารถเอาความรู้ภายในที่เด็กมีอยู่แล้วแสดงออกมาให้เข้ากับ
สิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็นวงจรต่อไปเรื่อย ๆ คือ เด็กจะเรียนรู้เองจากประสบการณ์สิ่งแวดล้อมภายนอกแล้วนำข้อมูลเหล่านี้กลับเข้าไปในสมองผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่
แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ดังนั้น ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม
จึงให้ความสำคัญ กับโอกาสและ วัสดุที่จะใช้ใน การเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไป
สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็ก เองได้
ไม่ใช่ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติ
ของกระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้าง กระบวนการ
เรียนรู้ นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติของเด็ก แต่ละคน ครูควรคิดค้น
พัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียน อย่างไรจึงจะให้
ผู้เรียนสามารถ สร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้
เราก็จะหาทางพัฒนา และสร้าง วัสดุอุปกรณ์ ประกอบการเรียน การสอนใหม่ ๆ
หรือหาวิธีที่ จะใช้อุปกรณ์การเรียน การสอน ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ด้วย
วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียน สร้างโครงสร้างของ ความรู้ขึ้นเอง
ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) และ
ศาสตราจารย์ มิทเชล เรสนิก (Mitchel Resnick) มีความเห็นว่า
ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้
ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน
สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย การสร้างความรู้ใหม่
ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูล ที่หลั่งไหลเข้ามา ในสมองของผู้เรียนเท่านั้น
โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ
สิ่งที่สอง คือ
กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้น มีความหมายกับ
ผู้เรียนคนนั้นมุ่งการสอนการป้อนความรู้ให้คิดค้นแต่วิธีที่จะสอนอย่างไรจึงจะได้ผล
ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ที่เด็กกำลังเรียนรู้อยู่และช่วยเสริมสร้างกระบวนการ
เรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่า
จะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้
ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้
เราก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ ๆ
หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์ การเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีการเรียนแบบใหม่
คือ การสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างของความรู้ขึ้นเองมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้นทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม
บอกว่าการจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่าเรามีความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้างความรู้ขึ้นเองการให้การศึกษาก็จะต้องประกอบด้วยการดึงเอาความรู้นี้ออกมาจากเด็ก
ด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือตอบคำถามที่จะใช้ความรู้นั้น
และให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วม ในกิจกรรมที่จะทำให้เกิดกระบวนการสร้างความรู้ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก
การให้การศึกษาก็จะต้องประกอบด้วยการให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็กแสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่าง
ๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้องให้กับเด็กวิธีนี้คือการศึกษาในสมัยก่อนนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น