31.1.62

การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้อนุบาล


            โรงเรียนอนุบาลเป็นสถานที่อุ้มชู ดูแล พัฒนาเด็กเล็ก คำว่า อนุบาล ในพจนานุกรม อธิบายว่า คอยเลี้ยงดู คอยระวัง ทั้งนี้เพราะเด็กยังอยู่ในวัยเยาว์
สมองของเด็กอนุบาล อยู่ในระยะที่กำลังเก็บรับประสบการณ์จากการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน และพัฒนาระบบสัมผัส คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสแบบต่างๆ เพื่อให้ประสบการณ์นั้นฉายภาพมายังตำแหน่งต่างๆ ในสมอง ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลจึงควรจัดพื้นที่ในการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการสมองวัยอนุบาล
-ห้องเรียนอบอุ่น
-สถานที่กว้างขวาง มีอุปกรณ์การเล่น เครื่องเล่นพอเพียง
-ห้องเก็บเครื่องมือ สื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง
-ห้องดนตรี ศิลปะ
-ห้องวิทยาศาสตร์
-ห้องสำหรับงานประดิษฐ์ งานช่าง
การจัดชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ต้องสนใจว่าจะพาเด็กก้าวไปทางไหน
-เด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับไหน
-เริ่มจัดประสบการณ์ในพัฒนาการด้านต่างๆ ณ จุดใด
-เด็กทุกคนจะก้าวไปตามจังหวะของตนเองได้อย่างไร
-สิ่งแวดล้อมแบบไหนจะนำเขาก้าวไปถึงได้
-กระบวนการมีกี่ขั้นตอน ใช้เวลาเท่าไร
-เด็กแต่ละกลุ่มจะได้รับกิจกรรมต่างกัน-เหมือนกัน อย่างไร
สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้
-อุณหภูมิเหมาะสม แสงสว่างเพียงพอ ปราศจากเสียงรบกวน
-มีพื้นที่และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมที่หลากหลาย
-ห้องเรียนถูกตกแต่งให้น่าสนใจด้วยข้อมูล ความรู้ ผลงานเด็ก มีมุมอ่าน และมุมประสบการณ์ต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ
-จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้มีชีวิต อบอุ่น และผ่อนคลาย
-มีความปลอดภัย สะอาด เป็นระเบียบ
-มีข้อตกลง กติกา และธรรมเนียมปฏิบัติร่วมกัน
-ปฏิสัมพันธ์ของทุกคนในโรงเรียน ต้องก่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย
-สมาชิกทุกคนมีความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของสถานที่
แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
-ควรเป็นสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นธรรมชาติ
-มีพื้นที่กว้างพอที่เด็กจะเดินวิ่ง เรียนรู้
-มีสัตว์และพืชที่เด็กควรรู้จักและสนใจ
-มีสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย กระตุ้นการเรียนรู้
-มีเครื่องเล่นพอเพียง
แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
ห้องเรียนก็ คือ ห้องทำกิจกรรม การที่เด็กไม่ได้อยู่กลางแจ้งตลอดเวลา เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน และงานบางอย่างต้องการพื้นที่ปิด (closed area)
-ห้องเรียนสะอาด เป็นระเบียบ น่าสนใจ ถูกสุขลักษณะ
-ตกแต่งด้วยสีสันกระตุ้นสมอง เก้าอี้วางเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้พูดคุย แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมด้วยกันสะดวก บางครั้งยกเก้าอี้ออกเพื่อทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
-บอร์ด ป้าย ทุกอย่างออกแบบมาสวยงาม มีจุดมุ่งหมายชัดเจน
บรรยากาศของห้องเรียน
บรรยากาศไม่ใช่สื่อการสอน แต่กลับทำให้อารมณ์ของเด็กถูกกระตุ้นให้สนใจที่จะเรียนรู้
-มีผ้า วัสดุเนื้อธรรมชาติ สีธรรมชาติ ตกแต่งห้อง โต๊ะ หรือมุมต่างๆ
-จัดเตรียมอุปกรณ์ของใช้ให้ง่ายแก่การหยิบ หายก็รู้ ดูงามตา
-จัดมุม โต๊ะ หรือชั้น เพื่อจัดวาง หรือแสดงสิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมตามฤดูกาล หรือเทศกาล เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เด็กสนใจ
-ห้องเรียนอาจมีโซฟาสักตัวหนึ่ง เพื่อให้เด็กนั่งอย่างสบายๆ
-ควรหาอะไรมาติดบอร์ด
- โชว์ภาพและผลงานของเด็กพร้อมชื่อเจ้าของผลงาน
- ติดภาพเรื่องที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ และทำกิจกรรมในสัปดาห์นี้
- ติดภาพกิจกรรม/เหตุการณ์ น่าประทับใจที่ผ่านมา สัปดาห์ที่แล้ว-เดือนก่อน
- ติดภาพทบทวนสิ่งที่เรียนไปสัปดาห์ก่อน
- ติดโปสเตอร์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กทำ
-พื้นที่ใช้งานภายในห้องเรียน
มุมอ่าน
มุมอ่านเป็นมุมที่ต้องการให้เด็กใช้เพื่อกิจกรรมการอ่าน เพราะการอ่านเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะนำเด็กก้าวไปสู่กระบวนการเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป
-มุมอ่าน อยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของห้อง กำหนดพื้นที่ไว้ด้วยเสื่อหรือพรม ห้ามเด็กทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะอยู่ในมุมอ่าน
-มุมอ่านมีหนังสือหลากหลาย จัดเป็นแถวให้เห็นปก ไม่จัดเรียงซ้อนชั้นสูง ยากแก่การหยิบ
-มุมอ่าน ควรเปลี่ยนหนังสือตามหัวข้อที่ต้องการให้อ่าน หรือตามความสนใจ หนังสือเล่มโปรดของเด็กไม่จำเป็นต้องเอาลงจากชั้น อาจตั้งโชว์ไว้เป็นเดือนๆจนถึงเป็นปีก็ได้
มุมเล่น
มุมเล่น เป็นมุมที่เด็กใช้เวลาเล่น ช่วงพักเป็นเวลาสั้นๆ เช่น 15 นาทีถึงครึ่งชั่วโมง เป็นการใช้เวลาเปลี่ยนผ่านอารมณ์ของเด็กจากช่วงเวลาเครียดไปได้เป็นอย่างดี
-มุมเล่น มีขึ้นเพราะยอมรับว่า เด็กวัยอนุบาลยังต้องการเวลาสำหรับการพักหรือเล่นเป็นช่วงสั้นๆ เป็นระยะๆ ไม่ควรให้เรียนทุกวิชา 50 นาที ต่อกันไป
-มุมเล่น ของเล่นที่เลือกมา ต้องเหมาะกับวัย ช่วยพัฒนาระบบร่างกายและอารมณ์
-มุมเล่น ควรมีของเล่นพัฒนาความคิด อาจเป็นของเล่นที่เล่นเดี่ยว เล่นเป็นคู่ เล่นเป็นกลุ่มก็ได้ ไม่แนะนำของเล่นที่ทำให้พื้นที่สกปรกง่าย
-สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กอนุบาล
ลักษณะของสื่อการเรียนรู้
-เป็นของจริง จับต้องได้ ใกล้ตัว
-ท้าทาย กระตุ้นความสนใจ
-เสริมสร้างจินตนาการและความคิด
-ปลอดภัย คงทน
-ขนาด รูปร่าง เรื่องราว เหมาะสมกับวัยของเด็ก
-การออกแบบและการใช้สื่อการเรียนรู้
-สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย และเนื้อหาที่เรียน
-เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็ก
-ใช้สื่อในธรรมชาติรอบตัวรวมทั้งตัวเด็กเอง
-กระตุ้นอารมณ์ด้านบวก และความสนใจใคร่รู้ของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-จัดลำดับการใช้สื่อจากง่ายไปยาก จากของจริงไปหาสัญลักษณ์
-บริหารจัดการสื่อให้พอเพียงและทั่วถึงเด็กทุกคน
-สร้างข้อตกลงร่วมกับเด็กก่อนใช้สื่อ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น