1.5.62

ความหมายของสื่อ

คำว่า “สื่อ” มีบทบาทสำคัญมากในสังคมยุคปัจจุบัน เพราะเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งข้อมูลความรู้ และเชื่อมโยงการบริหารงานระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา การเข้าใจความหมายของคำว่า “สื่อ” อย่างถูกต้องยังส่งผลให้เกิดการบวนการเชื่อมโยงที่มีสาระสำคัญในหลายๆประการ
สื่อ หมายถึง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2543 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
นอกจากนั้นยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่าสื่อ ได้แก่คำว่า การติดต่อสื่อสาร ซึ่ง หมายถึง การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความเครียด หรือการกระทำต่างๆ โดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล พฤติกรรมในที่นี้หมายถึงการเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและพฤติกรรมที่แสดงออกโดยเปิดเผย (โรเจอร์ Rogers, 1976)
ประเภทของสื่อ
สื่อสามารถจำแนกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร รายงาน และอื่นๆ
สื่อเทคโนโลยี ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้น หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
สื่ออื่นๆ เช่น สื่อบุคคล ซึ่งสามารถถ่ายทอดสาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น หรือ สื่อกิจกรรม ที่กำหนดหรือสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการฝึกทักษะความรู้ และสื่อวัสดุ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น เครื่องมือช่าง แผนที่ หุ่นจำลอง และอื่นๆ
หลักสำคัญของการสื่อสาร
ความน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและสนใจรับฟังข่าวสารนั้น
ความเหมาะสม การสื่อสารที่ดีต้องเหมาะสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ
เนื้อหาสาระ ข่าวสารที่ดีต้องมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม
ช่องทางการสื่อสาร เป็นช่องทางที่สามารถสื่อสารถึงตัวบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
มีความสม่ำเสมอ การสื่อสารที่ได้ผลดีต้องมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอมีความเที่ยงตรง
สรุป สื่อ คือสิ่งที่ใช้ติดต่อเชื่อมโยงถึงกัน หรือเป็นการถ่ายทอดข้อเท็จจริง ความรู้สึก และทัศนคติ หรือทักษะความรู้ของผู้ที่ต้องการถ่ายทอดไปยังผู้รับข่าวสาร โดยผ่านเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ทันสมัย  สื่อจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็น ซึ่งต้องมีความน่าเชื่อถือทั้งเนื้อหาสาระและความถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น