8. การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอน 12 กระบวนการ ด้วยกัน ดังนี้ (กรมวิชาการ 2534)
8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
8.9 กระบวนการกลุ่ม
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
3.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2534) ได้ให้ความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการไว้ ว่า เป็นการสอนที่
ก. สอนให้ผู้เรียนสามารถทําตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนําไปใช้ได้ จริงในสถานการณ์ใหม่ๆ
ข. สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะ สามารถนําไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ การสอนกระบวนการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. ครูมีความเข้าใจและใช้กระบวนการนั้นอยู่
2. ครูนําผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการทีละขั้นอย่างเข้าใจครบถ้วนครบวงจร
3. ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ขั้นตอนของกระบวนการนั้น
4. ผู้เรียนนํากระบวนการนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
5. ผู้เรียนใช้กระบวนการนั้นในชีวิตประจําวันจนเป็นนิสัย
จะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้ผู้สอนจะต้องเป็นผู้วางแผน นําให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการ เรียนรู้จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น กระบวนการที่ใช้จะเป็นกระบวนการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสําคัญ
8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
1. ตระหนักในปัญหาและความจําเป็น
ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจะเป็นของ เรื่องที่ศึกษา หรือเห็นประโยชน์และความสําคัญของการศึกษาเรื่องนั้นๆ โดยครูอาจนําเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบ เช่น รูปภาพ วิดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคําถาม ทําแบบฝึกหัด และให้โอกาส ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
3. สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย โดยร่วมกันคิดเสมอ ทางเลือก และอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
4. ประเมินและเลือกทางเลือก
ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาและร่วมกันสร้างเกณฑ์โดย คํานึงถึงปัจจัย วิธีดําเนินการ ผลผลิต ข้อจํากัด ความเหมาะสม กาลเทศะ เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนว ทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมอง อภิปราย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฯลฯ
5. กําหนดและลําดับขั้นตอนการปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนวางแผนในการทํางานของตนเองหรือหลุ่มโดยอาจใช้สําคับขั้นการ คําเนินงานดังนี้
5.1 ศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
5.2 กําหนดวัตถุประสงค์
5.3 กําหนดขั้นตอนการทํางาน
5.4 กําหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทําร่วมกันเป็นกลุ่ม)
5.5 กําหนดระยะเวลาการทํางาน
5.6 กําหนดวิธีการประเมิน
6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจมีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทํางาน
7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนสํารวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถามอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนงานที่กําหนดไว้ โดยสรุปผลการ ทํางานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทํางานขั้นต่อไป
8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ผู้เรียนนําผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
ผู้เรียนสรุปผลการดําเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กําหนด ได้อื่นๆ ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
1. สังเกต
ให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูล และศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้สื่อประกอบเพื่อกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดข้อกําหนดเฉพาะด้วยตนเอง
2. จําแนกความแตกต่าง
ให้ผู้เรียนบอกถึงความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
3. หาลักษณะร่วม
3. หาลักษณะร่วม
ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่รับรู้ และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คําจํากัดความ หรือนิยาม
4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด
ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
5. ทดสอบและนําไปใช้
ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทําแบบฝึกหัด ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความจํา จนถึงขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวคิดของ บลูม (Bloom) หรือแนวความคิด ของกานเย่ (Gagne) ซึ่งเริ่มจากการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาจนเชื่อมโยงเป็นความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ และนํากฎเกณฑ์ไปใช้ผู้สอน ควรพยายามใช้เทคนิคต่อไปนี้ ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้เป็นขั้นๆ อาจจะเลือกใช้ เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ความพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่าน ขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสังเกต
ให้ผู้เรียนทํากิจกรรมรับรู้แบบปรนัยให้เกิดความเข้าใจ ได้ความคิดรวบยอด เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสําคัญครบถ้วน ตรงตามหลักฐานข้อมูล
2. อธิบาย
ให้ผู้เรียนตอบคําถาม แสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กําหนด เน้นการใช้เหตุผล ด้วยหลักการ กฏเกณฑ์และอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. รับฟัง
ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น คําวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อความคิดของ โต้ตอบ และแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหe. โดยไม่ใช้อารมณ์
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และความคล้ายคลึงของสิ่งต่าง ๆ กลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงสาเหตุและผล หากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยง อุปมาอุปไมย
5. วิจารณ์
จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คํากล่าว แนวคิด หรือการกระทํา แล้วให้ จุดเด่น จุดด้อย ส่วนดี - ส่วนเสีย ส่วนสําคัญ ไม่สําคัญจากสิ่งนั้น ด้วยการยกเหตุผลหลักการมาปล การวิจารณ์
6. สรุป
จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทําหรือข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อมโยง เกี่ยวข้องกัน แล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด
1. สังเกต
ให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูล รับรู้และทําความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป และ ตระหนักในปัญหานั้น
2. วิเคราะห์
ให้ผู้เรียนได้อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ สาเหตุ และลําดับความสําคัญของปัญหา
3. สร้างทางเลือก
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายซึ่งอาจมีการทดลอง ค้นคว้า ตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทํากิจกรรมกลุ่มและควรมีการกําหนดหน้าที่ในการทํางาน ให้แก่ผู้เรียนด้วย
4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนงานและบันทึกการปฏิบัติงาน เพื่อรายงานและตรวจสอบความ ถูกต้องของทางเลือก
5. สรุป
ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจจัดทําในรูปของรายงาน
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสนใจ เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคุณค่า หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ขั้นตอนการ
ในปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิด ดําเนินการมีดังนี้
1.สังเกต
ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่ และเห็นคุณค่า
2. วิจารณ์
ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หาสาเหตุและ ผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
3. สรุป
ให้อภิปรายหาข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนักและ วางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกตรับรู้
ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวบยอด
2. ทําตามแบบ
ทําตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอน จากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขึ้น
3. ทําเองโดยไม่มีแบบ
เป็นการให้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
4. ฝึกให้ชํานาญ
ให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชํานาญหรือทําได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็น งานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
กระบวนการนี้มี 2 วิธีการ คือ สอนทักษะทางคิดคํานวณและทักษะแก้ปัญหาโจทย์ การสอน ทักษะการคิดคํานวณมีขั้นตอนย่อย คือ สร้างความคิดรวบยอดของคํา นิยามศัพท์ สอนกฏโดยวิธีอุปนัย (สอน จากตัวอย่างไปสู่กฏเกณฑ์ใหม่) ฝึกการวินิจฉัย ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ส่วนการสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์ มีขั้นตอนย่อยคือ แปล โจทย์ในเชิงภาษา หาวิธีแก้ปัญหา โจทย์ วางแผน ปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคําถาม
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้
1. ทําความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ รูปแบบเครื่องหมาย
ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคํา กลุ่มคํา ประโยคและถ้อยคําสํานวนต่างๆ
2. สร้างความคิดรวบยอด
ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นํามาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับ สิ่งที่เรียนด้วยตนเอง
3. สื่อความหมาย ความคิด
ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้
4. พัฒนาความสามารถ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ การ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
8.9 กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทํางานร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมดังนี้
1. มีผู้นํากลุ่ม ซึ่งอาจผลัดเปลี่ยนกัน
2. วางแผนกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ
5. ติดตามผลการปฏิบัติ และปรับปรุง
6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่แทรกได้กับทุกเนื้อหา เน้นความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มที่เรียน อาจเป็นความคิด หลักการ การกระทํา เหตุการณ์ สถานการณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต
ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทําที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจตคติ
2. วิเคราะห์
ผู้เรียนพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทําที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่า พอใจ และการกระทําที่ไม่เหมาะสมได้ผลที่ไม่น่าพอใจ
3. สรุป
ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเกิดการยอมรับและเห็น คุณค่าของค่านิยมด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
ผู้เรียนพิจารณาการกระทําที่เหมาะสมและการกระทําที่ไม่เหมาสม รับรู้ความหมาย จําแนกการกระทําที่แตกต่างกันได้
2. ประเมินเชิงเหตุผล
ผู้เรียนใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์การกระทํา ของตัวละคร หรือบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
3. กําหนดค่านิยม
ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความเชื่อ ความพอใจในการกระทําที่ควรกระทําในสถานการณ์ ต่างๆ พร้อมเหตุผล
4. วางแผนปฏิบัติ
ผู้เรียนช่วยกันกําหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมีครูร่วมรับทราบกติกา การกระทํา และสํารวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อกระทําดีแล้ว เช่น การได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ
5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ครูให้การเสริมแรงระหว่างการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชม ยินดี
8.12 กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการนี้ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อสร้างความคิดรวบยอด ตั้งคําถาม ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อทําความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และกําหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคําตอบ ต่อไป
คําตอบมาวางแผนเพื่อกําหนด
2. วางแผนปฏิบัติ
ผู้เรียนนําวัตถุประสงค์ หรือคําถามที่ทุกคนสนใจจะหาคําตอบมาวาง แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
3. ลงมือปฏิบัติ
ครูกําหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อยๆ ได้แสวงหาคําตอบจากแหล่งความรู้ด้วย เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่ หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ฯลฯ ตามแผนงานที่วางไว้
4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
ผู้เรียนนําความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความ ตีความ ขยาน นําไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
5. สรุป
ผู้เรียนรวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุด
จะเห็นได้ว่า กระบวนการรวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ ดังได้เสนอไปแล้วข้างต้น มีจํานวนและความหลากหลายพอสมควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกเป็นจํานวนมาก ผู้สอนจึงพึง ตระหนักว่าศาสตร์ทางการสอนได้ให้แนวคิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างหลากหลาย พอสมควร หากผู้สอนรู้จักแสวงหา ศึกษาเรียนรู้ และนําไปทดลองใช้ จะสามารถช่วยให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพ มีชีวิตชีวา และมีความหลากหลาย ไม่จําเจอยู่กับวิธีการหรือกระบวนการเพียงไม่กี่วิธีซึ่งอาจทํา ให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น