1.5.62

รูปแบบการบูรณาการ

การบูรณาการเป็นการกำหนดเป้าหมายการเรียน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระเดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการใน การจัดการเรียนการสอนซึ่งจัดได้หลายลักษณะ (กรมวิชาการ 2545 : 21-22) รูปแบบของการบูรณาการ (Models of Integration) 4 รูปแบบ คือ
1.บูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction) ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ต่างๆ กับหัวข้อเรื่องสอดคล้องกับชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่อง น้ำ พืช ผู้สอนสามารถ เชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด
2.บูรณาการแบบคู่ขนาน (Parallel Instruction) มีผู้สอนตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น ผู้สอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เงา ผู้สอนอาจสอนคณิตศาสตร์ เรื่องวัดระยะทางโดยการวัดเงา คิดคำนวณในเรื่องเงาในช่วงเวลาต่างๆ หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ผู้เรียนรู้ศิลปะเรื่องเทคนิคการวาดรูปที่มีเงา
3.บูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary Instruction) การบูรณาการ ในลักษณะนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอน แยกตามรายวิชาหรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่องผู้สอนจัดการเรียนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น วันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้สอนภาษาไทยจัดให้ผู้เรียนรู้ภาษาคำศัพท์ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสังคมให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และครูผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
4.บูรณาการแบบโครงการa(Disciplinary Instruction) ผู้สอนสามารถ บูรณาการเป็นโครงการ โดยผู้เรียนและครูผู้สอนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกัน ได้หลายชั่วโมง ด้วยการนำเอาชั่วโมงของวิชาต่างๆที่ครูผู้สอนเคยแยกกัน มาร่วมเป็นเรื่องเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกันในลักษณะของการสอนเป็นทีม (Team)เรียนเป็นทีม ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะเป็นพิเศษ ครูผู้สอนสามารถแยกกันสอนได้ เป็นฐาน ค่าย เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายดนตรี ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายศิลปะ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น