ผู้เขียนได้เสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวางพอสมควร นักศึกษาไทยได้ติดตามศึกษา ภามก้าวหน้าด้านวิชาเหล่านี้ และได้นํามาเผยแพร่ในวงการศึกษาไทย ซึ่งได้รับความนิยมมากบ้าง น้อยบางแตกต่างกันไปตามความคิดเห็นและความเชื่อถือของผู้รับ ในขณะเดียวกันได้มีนักคิด นักการศึกษา และครูอาจารย์ ผู้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้จํานวนหนึ่ง ที่ได้ พยายามคิดค้นหรือพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีหรือหลักการที่ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว เช่น ประยุกต์จากหลักพุทธธรรม หรือ ประยุกต์จากแนวคิดต่างประเทศ โดยพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย ปัญหาความ ต้องการและธรรมชาติของเด็กไทย กระบวนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและ ได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหรือเป็น แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนที่ผู้อื่นสามารถนําไปใช้แล้วจะเกิดผลตามวัตถุประสงค์ของ รูปแบบนั้นได้ นับว่าเป็นการช่วยให้แนวทางแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก หากได้รูปแบบที่ ดี ตรงกับวัตถุประสงค์ในการสอนของตน ก็สามารถสอนตามแบบแผนและได้ผลตามที่ต้องการได้ ใน ประเทศไทยรูปแบบในลักษณะดังกล่าวมาจากกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม คือ นักการศึกษาที่สนใจศึกษาและทําวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่งคือนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ ศึกษาวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ผลงานจากกลุ่มหลังนี้ มีจํานวนมากกว่ากลุ่มแรกมากเนื่องจาก จํานวนนิสิตนักศึกษามีมาก แต่คุณภาพของงานย่อมหลากหลายตามความสามารถของผู้ทําด้วย
นอกจาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลอีก กลุ่มหนึ่ง ทั้งที่อยู่ในวงการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในวงการอื่นที่ไม่ใช่การศึกษา แต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษา ได้นําเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลําดับชัดเจน ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ได้รับการทดลองใช้อย่างเป็นระบบและพิสูจน์ ทดสอบประสิทธิภาพตามหลักการแล้วแต่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อย ผู้เขียนขอเรียกผลงานใน ลักษณะดังกล่าวว่าเป็น “กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน” ดังนั้นในบทนี้ ผู้เขียนจึงจะ นําเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
อนึ่ง ก่อนนําเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าว ผู้เขียนขอทําความเข้าใจก่อนว่า รูปแบบ บางรูปแบบที่นําเสนอและผู้เขียนเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนนั้น บุคคลที่พัฒนารูปแบบนั้นขึ้นมา อาจไม่ได้เรียกชื่องานของท่านว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน บางท่านเรียกว่า “การสอน” “รูปแบบการ สอน” “กระบวนการสอน” “การจัดการเรียนการสอน” “การสอนแบบ” ซึ่งโดยความหมายและลักษณะ ของผลงานแล้ว ตรงกับความหมายของ “รูปแบบการเรียนการสอน” ทั้งสิ้น ดังนั้นผู้เขียนจึงขอใช้คําว่า รูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมด เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และทําให้ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
ผู้เขียนจะนําเสนอ 4 รูปแบบดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมร วิวัฒน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ พัฒนาโดย สุมน อมร วิวัฒน์
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย พัฒนา โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนา โดย ทิศนา แขมมณี
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
สุมน อมรวิวัฒน์ (2533 : 168 – 170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมาจาก แนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดําเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆ การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่ จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
1. การเผชิญ ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
2. การผจญ คือการเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทํานองคลองธรรมและมี หลักการ
3. การผสมผสาน ได้แก่การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อนําไปใช้แก้ปัญหา ได้สําเร็จ
4. การเผด็จ คือ การลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก อาทิ กระบวนคิด ( โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในการ แก้ปัญหาและการดํารงชีวิต
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ค
กระบวนการดําเนินการมีดังนี้ (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 170 – 171 ; 2542 : 55 -
146)
1. ขั้นนํา การสร้างศรัทธา
1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของ บทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสําคัญของบทเรียน
1.2 ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และแสดงความรักความเมตตาความจริงใจ ต่อผู้เรียน
2. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนําเสนอสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง มาฝึกทักษะ
คิดและปฏิบัติในกระบวนการเผชิญสถานการณ์
2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และ หลักการต่างๆ โดยฝึกหัดการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารกับแหล่งอ้างอิงหลายๆ แหล่ง และตรวจสอบ ลักษณะของข้อมูลข่าวสารว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่ง่ายหรือยาก ธรรมดาหรือซับซ้อน แคบหรือกว้าง คลมเครือหรือชัดเจน มีความจริงหรือความเท็จมากกว่า มีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบ มี ระบบหรือยุ่งเหยิงสับสน มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีแหล่งอ้างอิงหรือเลื่อนลอย มีเจตนาดี หรือร้าย และเป็นสิ่งที่ควรรู้หรือไม่รู้
2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสําคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่า ทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลายๆ วิธี (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การคิดสืบสาวเหตุปัจจัย การคิดแบบ แยกแยะส่วนประกอบ การคิดแบบสามัญลักษณ์ คือคิดแบบแก้ปัญหา คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ คิดให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย คิดแบบคุณโทษทางออก คิดแบบคุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม คิดแบบใช้อุบายปลุกเร้าคุณธรรมและคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจโดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากทางเลือกต่างๆ และฝึกการใช้ หลักการ ประสบการณ์ และการทํานาย มาใช้ในการเลือกหาทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้ ผู้สอนให้คําปรึกษาและแนะนํา ฉันกัลยาณมิตร โดยปฏิบัติให้เหมาะสมกับหลักสัปปุริสธรรม 7
3. ขั้นสรุป
3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูด เขียน แสดง หรือกระทําใน รูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน 3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา และสามารถคิดและตัดสินใจได้ อย่างเหมาะสม
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดย สุมน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2526 สุมน อมรวิวัฒน์ นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานทาง การศึกษาจํานวนมาก ได้นําแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวรมุณี (ประยุทธ์ ปยุตโต) เกี่ยวกับ การสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า ครูเป็นบุคคลสําคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ การฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคายและนําไปสู่การ ปฏิบัติจนประจักษ์จริงโดยครูทําหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิด และแสดงออกอย่างถูกวิธี จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม สุมน อมรวิวัฒน์ 2533 : 161)
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด ( โยนิโนมนสิการ) การตัดสินใจและการ แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
1. ขั้นนํา การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน
1.1 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ เหมาะสมในระดับของชั้น วัย ของผู้เรียน วิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน
1.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ครูเป็นกัลยาณมิตร หมายถึงครูทํา ตนให้เป็นที่เคารพรักของศิษย์ โดยมีบุคลิกภาพที่ดี สะอาด แจ่มใส และสํารวม มีสุขภาพจิตดี มีความ มั่นใจในตนเอง
1.3 การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
ก. ใช้สื่อการเรียนการสอน หรืออุปกรณ์และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจ เช่น การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสารภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จําลอง เป็น
ข. จัดกิจกรรมขั้นนําที่สนุก น่าสนใจ
ค. ศิษย์ได้ตรวจสอบความรู้ ความสามารถของตน และได้รับทราบผลทันที
2 ขั้นสอน
2.1 ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสําคัญของบทเรียน หรือเสนอหัวข้อเรื่องประเด็น สําคัญของบทเรียนด้วยวิธีการต่างๆ
2.2 ครูแนะนําแหล่งวิทยาการและแหล่งเรียนรู้
2.3 ครูฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ โดยใช้ทักษะที่เป็น ในเครื่องมือของการเรียนรู้ เช่น ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และทักษะทางสังคม
2.4 ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือค้นคว้า คิดวิเคราะห์ และสรุป ความคิด
2.5 ครูฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล ความรู้ และเรียงเทียบประเมินค่า โดย วิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทดลอง ทดสอบ จัดเป็นทางเลือกและทางออกของการแก้ปัญหา
2.6 ศิษย์ดําเนินการเลือกและตัดสินใจ
2.7 ศิษย์ทํากิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก และการตัดสินใจ
3. ขั้นสรุป
3.1 ครูและศิษย์รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติทุกขั้นตอน
3.2 ครูและศิษย์อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้
3.3 ครูและศิษย์สรุปผลการปฏิบัติ
3.4 ครูและศิษย์สรุปบทเรียน
3.5 ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น