3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (Psycho-Motor Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของ ผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทํา หรือการแสดงออกต่างๆ ซึ่งจําเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย รูปแบบที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ทางด้านนี้ ที่สําคัญๆ ซึ่งจะนําเสนอในที่นี้มี 3 รูปแบบดังนี้
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (Simpson)
3.2 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow)
3.3 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies)
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพซน
( Instructional Model Based on Simpson's Processes for Psycho - Motor Skill Develop
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ซิมพ์ซัน (Simpson, 1972) กล่าวว่า ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ทางการของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการทํางานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการทํางาน ที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนการทํางานเกิดขึ้น โดยงานของสมอง ซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัตินี้สามารถพัฒนาด้วยการ
ฝึกฝน ซึ้งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง ความคล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญชํานาญการ ความและความคงทน ผลของพฤติกรรมหรือการกระทําสามารถสังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยํา แรงหรือความราบรื่นในการจัดการ
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทํางานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือ ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชํานาญ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ (perception) เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้สิ่งที่จะทํา โดยการให้ ผู้เรียนสังเกตการณ์ทํางานนั้นอย่างตั้งใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นการเตรียมความพร้อม (readiness) เป็นขั้นการปรับตัวให้พร้อมเพื่อการ ทํางานหรือแสดงพฤติกรรมนั้น ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยการปรับตัวให้พร้อมที่จะทํา การเคลื่อนไหว หรือแสดงทักษะนั้นๆ และมีจิตใจและสภาวะอารมณ์ที่ดีต่อการที่จะทําหรือแสดงทักษะ นั้นๆ
ขั้นที่ 3 ขั้นการสนองตอบภายในการควบคุม (guided response) เป็นขั้นที่ให้ โอกาสแก่ผู้เรียนในการตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้ ซึ่งอาจใช้วิธีการให้ผู้เรียนเลียนแบบ การกระทํา หรือการ แสดงทักษะนั้น หรืออาจใช้วิธีการให้ผู้เรียนลองผิดลองถูก (trial and error) จนกระทั่งสามารถตอบสนอง ได้อย่างถูกต้อง
ขั้นที่ 4 ขั้นการให้ลงมือกระทําจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทําได้เอง (mechanism) เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสําเร็จในการปฏิบัติ และเกิดความเชื่อมั่นในการทําสิ่ง นั้นๆ
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทําอย่างชํานาญ (complex overt response) เป็นขั้นที่ช่วยให้ ผู้เรียนได้ฝึกฝนการกระทํานั้นๆจนผู้เรียนสามารถทําได้อย่างคล่องแคล่ว ชํานาญ เป็นไปโดยอัตโนมัติ และด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง
ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงทักษะ หรือการปฏิบัติของตนให้ดียิ่งขึ้น และประยุกต์ใช้ทักษะที่ตนได้รับการพัฒนาในสถานการณ์ต่างๆ
ขั้นที่ 7 ขั้นการคิดริเริ่ม เมื่อผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง ชํานาญ และสามารถประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเกิดความคิดใหม่ๆ ใน การกระทําหรือปรับการกระทํานั้นให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถกระทําหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่วชํานาญ ในสิ่งที่ต้องการ ให้ผู้เรียนทําได้ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
3.2 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow's Instructional Model for Psychomotor Domain)
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
แฮร์โรว์ (Harrow, 1972 : 96 – 99) ได้จัดลําดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้านทักษะ ปฏิบัติไว้ 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมาก ดังนั้นการ กระทําจึงเริ่มจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ไปถึงการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อย่อย ลําดับขั้นดังกล่าว ได้แก่การเลียนแบบ การลงมือกระทําตามคําสั่ง การกระทําอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การแสดงออกและการ กระทําอย่างเป็นธรรมชาติ
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสามารถทางด้านทักษะปฏิบัติการต่างๆ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือกระทําอย่างถูกต้องสมบูรณ์และชํานาญ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสังเกตการกระทําที่ต้องการให้ผู้เรียน ทําได้ ซึ่งผู้เรียนย่อมจะรับรู้หรือสังเกตเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ไม่ครบถ้วน แต่อย่างน้อยผู้เรียนจะ สามารถบอกได้ว่า ขั้นตอนหลักของการกระทํานั้นๆ มีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทําตามคําสั่ง เมื่อผู้เรียนได้เห็นและสามารถบอกขั้นตอน ของการกระทําที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนลงมือทําโดยไม่มีแบบอย่างให้เห็น ผู้เรียนอาจลงมือทําตาม คําสั่งของผู้สอน หรือทําตามคําสั่งที่ผู้สอนเขียนไว้ในคู่มือก็ได้ การลงมือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ แม้ผู้เรียนจะ ยังไม่สามารถทําได้อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยผู้เรียนก็ได้ประสบการณ์ในการลงมือทํา และค้นพบปัญหา ต่างๆ ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และการปรับการกระทําให้ถูกต้องสมบูรณ์
ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทําอย่างถูกต้องสมบูรณ์ (precision) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียน จะต้องฝึกฝนมากขึ้นจนสามารถทําสิ่งนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยไม่จําเป็นต้องมีแบบอย่างหรือมีคําสั่งนําทางการกระทํา การกระทําที่ถูกต้องแม่นตรง พอดี สมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องสามารถ ทําได้ในขั้นนี้
ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก (articulation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝน มากขึ้น จนกระทั่งสามารถกระทําสิ่งนั้นได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แบบอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว ราบรื่น และด้วยความมั่นใจ
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทําอย่างเป็นธรรมชาติ (naturalization) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียน สามารถกระทําสิ่งนั้นๆ อย่างสบายๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติบ่อยๆ ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติ จนสามารถกระทําได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
13 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies's Instructional Model for Psychomotor Domain)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
เดวีส์ (Davies, 1971 : 50 - 56) ได้นําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ ปฏิบัติได้ว่า ทักษะส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อยๆ จํานวนมาก การฝึกให้ผู้เรียนสามารถ ทําทักษะย่อยๆ เหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะใหญ่ จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสําเร็จ ได้ดีแล้วรวดเร็วขึ้น
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถด้านทักษะปฏิบัติของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะที่ประกอบด้วยทักษะย่อยจํานวนมาก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ขั้นสาธิตทักษะหรือการกระทํา ขั้นนี้เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้เห็นทักษะหรือ การกระทําที่ต้องการให้ผู้เรียนทําได้ในภาพรวม โดยสาธิตให้ผู้เรียนดูทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ทักษะหรือ การกระทําที่สาธิตให้ผู้เรียนดูนั้น จะต้องเป็นการกระทําในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ไม่ช้าหรือเร็วเกิน ปกติ ก่อนการสาธิต ครูควรให้คําแนะนําแก่ผู้เรียนในการสังเกต ควรชี้แนะจุดสําคัญที่ควรให้ความสนใจ เป็นพิเศษในการสังเกต
ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย เมื่อผู้เรียนได้เห็นภาพรวมของ การกระทําหรือทักษะทั้งหมดแล้ว ผู้สอนควรแตกทักษะทั้งหมดให้เป็นทักษะย่อยๆ หรือแบ่งสิ่งที่กระทํา ออกเป็นส่วนย่อยๆ และสาธิตส่วยย่อยแต่ละส่วนให้ผู้เรียนสังเกต และทําตามไปทีละส่วนอย่างช้าๆ
ขั้นที่ 3 ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยๆ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะย่อย โดยไม่มี การสาธิตหรือมีแบบอย่างให้ดู หากติดขัดจุดใด ผู้สอนควรให้คําชี้แนะ และช่วยแก้ไขจนกระทั่งผู้เรียนทํา ได้ เมื่อได้แล้วผู้สอนจึงเริ่มสาธิตทักษะย่อยส่วนต่อไป และให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยนั้นจนทําได้ ทํา เช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งครบทุกส่วน -
ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการ เมื่อผู้เรียนปฏิบัติได้แล้ว ผู้สอนอาจแนะนําเทคนิค วิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทํางานนั้นได้ดีขึ้น เช่น ทําได้ประณีตสวยงามขึ้น ทําได้รวดเร็วขึ้น หรือ สิ้นเปลืองน้อยลง เป็นต้น
ขั้นที่ 5 ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆ เป็นทักษะที่สมบูรณ์ เมื่อผู้เรียน สามารถปฏิบัติแต่ละส่วนได้แล้ว จึงให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยๆ ต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ และฝึก ปฏิบัติหลายๆ ครั้งจนกระทั่งสามารถปฏิบัติทักษะที่สมบูรณ์ได้อย่างชํานาญ
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น