1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียน เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่างๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด รูปแบบที่คัดเลือกมานําเสนอในที่นี้มี 5 รูปแบบดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา 1.5 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิด
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล (Joyce & Weil, 1996 : 161 -178) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นโดยใช้ แนวคิดของบรุนเนอร์ยึดนาว และออสติน (Bruner, Goodnow, and Austin) เกี่ยวกับการเรียนรู้มโนทัศน์ Ñ 21 “Concept attainment is the search for and listing of attributes that can be used to distinguish exemplars from nonexemplars of various categories” (Bruner et al., 1967: 233) ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้มโนทัศน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น สามารถทําได้โดยการค้นหาคุณสมบัติ เฉพาะที่สําคัญของสิ่งนั้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจําแนกสิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ของเนื้อหาสาระต่างๆ อย่างเข้าใจ และ สามารถให้คํานิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง
ค. กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ผู้สอนเตรียมข้อมูลสําหรับให้ผู้เรียนฝึกหัดจําแนก
1. ผู้สอนเตรียมข้อมูล 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน อีกชุดหนึ่งไม่ใช้ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
2. ในการเลือกตัวอย่างข้อมูล 2 ชุดข้างต้น ผู้สอนจะต้องเลือกหาตัวอย่างที่มีจํานวนมากพอที่จะครอบคลุม ลักษณะของมทัศน์ที่ต้องการนั้น
3. ถ้ามโนทัศน์ที่ต้องการสอนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมอาจใช้วิธีการยกเป็นตัวอย่างเรื่องสั้นๆ ที่ผู้สอนแต่งขึ้นเองนําเสนอแกผู้เรียน
4. ผู้สอนเตรียมสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้ประกอบการนําเสนอตัวอย่าง
มโนทัศน์เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะต่างๆ ของมโนทัศน์ที่ต้องการสอนอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 2 ผู้สอนอธิบายกติกาในการเรียนให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตรงกัน ผู้สอนชี้แจง วิธีการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนเริ่มกิจกรรม โดยอาจสาธิตวิธีการและให้ผู้เรียนลองทําตามที่ผู้สอนบอล จนกระทั้งผู้เรียนเกิดความเข้าใจพอสมควร
ขั้นที่ 3 ผู้สอนเสนอข้อมูลตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน และข้อมูลที่ไม่ใช้ ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
การนําเสนอข้อมูลตัวอย่างนี้ทําได้หลายแบบแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อย
ดังต่อไปนี้
1. นําเสนอข้อมูลที่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนทีละข้อมูลจนหมดทั้งชุด โดย บอกให้ผู้เรียนรู้ว่าเป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนแล้วตามด้วยการเสนอข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะ สอนทีละข้อมูล จนครบหมดทั้งชุดเช่นกันโดยบอกให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวอย่างชุดหลังนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสอน ผู้เรียนจะต้องสังเกตตัวอย่างทั้ง 2 ชุด และคิดหาคุณสมบัติร่วมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เทคนิควิธีนี้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ได้เร็ว แต่ใช้กระบวนการคิดน้อย
2. เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนสลับกันไปจนครบ เทคนิค วิธีนี้จะช่วยสร้างมโนทัศน์ได้ช้ากว่าเทคนิคแรกแต่ได้ใช้กระบวนการคิดมากกว่า
3. เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล แล้วเสนอ ข้อมูลที่เหลือทั้งหมดทีละข้อมูล โดยให้ผู้เรียนตอบว่าข้อมูลแต่ละข้อมูลที่เหลือนั้นใช่หรือไม่ใช่ตัวอย่างที่ จะสอน เมื่อผู้เรียนตอบ ผู้สอนจะเฉลยว่าผู้เรียนตอบถูกหรือผิด วิธีนี้ผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิดใน การทดสอบสมมติฐานของตนไปทีละขั้นตอน
4. เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล แล้วให้ผู้เรียน ช่วยกันยกตัวอย่างข้อมูลที่ผู้เรียนคิดว่าใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอน โดยผู้สอนจะเป็นผู้ตอบว่าใช่หรือ ไม่ใช่วิธีนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสคิดมากขึ้นอีก
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอน
จากกิจกรรมที่ผ่านมาในขั้นต้นๆ ผู้เรียนจะต้องพยายามหาคุณสมบัติเฉพาะของ ตัวอย่างที่ใช่และไม่ใช่สิ่งที่ผู้สอนต้องการสอนและทดสอบคําตอบของตน หากคําตอบของตนผิด ผู้เรียน ก็จะต้องหาคําตอบใหม่ ซึ่งก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนสมมติฐานที่เป็นของคําตอบเดิม ด้วยวิธีนี้ผู้เรียนจะ ค่อยๆ สร้างความคิดรวบยอดของสิ่งนั้นขึ้นมา ซึ่งก็มาจากคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งนั้นนั่นเอง
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนสรุปและให้คําจํากัดความของสิ่งที่ต้องการสอน เมื่อผู้เรียนได้ รายการของคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอนแล้ว ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันเรียบเรียงให้เป็นคํานิยาม หรือคําจํากัดความ
ขั้นที่ 6 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการหาคําตอบให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตัวเอง
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์ และตัวอย่างที่ หลากหลาย ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะ การใช้มโนทัศน์ ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการทําความเข้าใจมโนทัศน์อื่นๆ ต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนา ทักษะการใช้เหตุผลโดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne's Instructional Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
กานเย่ (Gagne, 1985 : 70 - 90) ได้พัฒนาทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Conditions of Learning) ซึ่งมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ ของกานเยอธิบายว่า ปรากฏการณ์การเรียนรู้มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ
1. ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ 5 ประเภท คือ ทักษะทางปัญญา (intellectual skills) ซึ่งประกอบด้วยการจําแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวบยอด การ สร้างกฎ การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง ความสามารถด้านต่อไปคือ กลวิธีในการเรียนรู้ (cognitive strategy) ภาษาหรือคําพูด (verbal information) ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) และเจตคติ(attitudes)
2. กระบวนการเรียนรู้และการจดจําของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัดการกับ ข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และขณะที่กระบวนการจัดกระทําข้อมูลภายใน สมองกําลังเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการเรียนรู้ที่ เกิดขึ้นภายในได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน การ์เย่จึงได้สรุปแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน และส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยจัดสภาพการณ์ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของ ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ได้อย่างดี รวดเร็ว และสามารถ จดจําสิ่งที่เรียนได้นาน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนตามรูปแบบของกานเย ประกอบด้วยการดําเนินการเป็นลําดับ ขั้นตอนรวม 9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับ
สิ่งเร้า หรือสิ่งที่จะเรียนรู้ได้
ขั้นที่ 2 การแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ เป็นการช่วยให้ผู้เรียน ได้รับรู้ความคาดหวัง
ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม เป็นการช่วยให้ผู้เรียนดึงข้อมูลเดิมที่อยู่ ในหน่วยความจําระยะยาวให้มาอยู่หน่วยความจําเพื่อการใช้งาน (Working memory) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียน เกิดความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้ หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เพื่อช่วยให้ ผู้เรียนสามารถทําความเข้าใจกับสาระที่เรียนได้ง่ายและเร็วขึ้น
ขั้นที่ 6 การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาส ตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสาระที่เรียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน และข้อมูลที่ เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน
ขั้นที่ 2 การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนเอง สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด
ขั้นที่ 9 การเสริมสร้างความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้โดยการให้โอกาส ผู้เรียนได้มีการฝึกฝนอย่างเพียงพอและในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ขึ้น และสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่นๆ ได้
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่องจากการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้ จัดขึ้นให้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และจดจําของมนุษย์ ดังนั้น ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้สาระที่นําเสนอได้อย่างดี รวดเร็ว และจดจําสิ่งที่ เรียนรู้ได้นาน นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เพิ่มพูนทักษะในการจัดระบบข้อมูล สร้างความหมายของข้อมูล รวมทั้งการแสดงความสามารถของตนด้วย
1.3 รูปแบบการเรียนการสอน โดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance Organizer Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล (Joyce and Well, 1996 : 295 – 278) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้น โดย แนวคิดของออซูเบล (Ausubel) เกี่ยวกับการนําเสนอมโนทัศน์ล่วงหน้า (Advanced Organizer) เพื่อการ เรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful verbal learning) ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายเมื่อสิ่งที่ เรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียน ดังนั้นในการสอนสิ่งใหม่ สาระความรู้ใหม่ ผู้สอนควร วิเคราะห์หาความคิดรวบยอดย่อยๆ ของสาระที่จะนําเสนอ จัดทําผังโครงสร้างของความคิดรวบยอด
1 แล้ววิเคราะห์หามโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่กว้างครอบคลุมความคิดรอบยอดย่อยๆ ที่ สอน หากครูนําเสนอมโนทัศน์ที่กว้างดังกล่าวแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระใหม่ ขณะที่ผู้เรียนกําลัง
เรียนรู้สาระใหม่ ผู้สอนจะสามารถนําสาระใหม่นั้นไปเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ ล่วงหน้าแล้ว ทําให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายแก่ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ได้เรียนรู้เนื้อหาสาระ ข้อมูลต่างๆ อย่างมีความหมาย
ค. กระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 1 การจัดเตรียมโนทัศน์กว้าง
ครูจัดเตรียมมโนทัศน์กว้าง โดยการวิเคราะห์หามโนทัศน์ที่กว้าง และครอบคลุม ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระใหม่ทั้งหมด มโนทัศน์ที่กว้างนี้ จะไม่ใช่สิ่งเดียวกับ มโนทัศน์ของ สาระใหม่ที่จะสอน แต่เป็นมโนทัศน์ในระดับที่เหนือขึ้นไป หรือสูงกว่า ซึ่งจะมีลักษณะเป็นนามธรรม มากกว่า ปกติมันจะเป็นมโนทัศน์ของวิชานั้นหรือสายวิชานั้น การนําเสนอมโนทัศน์กว้างนี้ล่วงหน้าก่อน การสอน จะเป็นเหมือนการ “preview” บทเรียน ซึ่งจะเป็นคนละอย่างกับ “overview” หรือการให้ดู ภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การนําเสนอภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การทบทวนความรู้เดิม การซักถาม ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน การบอกวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เหล่านี้ ไม่นับว่าเป็น “advance organizer” ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่กว้าง ครอบคลุม และมีความเป็น นามธรรมอยู่ในระดับสูงกว่าสิ่งที่จะสอน (higher level of abstraction)
ขั้นที่ 2 การนําเสนอมโนทัศน์กว้าง 1.ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ผู้สอนนําเสนอมโนทัศน์กว้าง ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การบรรยายสั้นๆ แสดง แผนผังมโนทัศน์ ยกตัวอย่าง หรือใช้การเปรียบเทียบ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การนําเสนอเนื้อหาสาระใหม่ของบทเรียน
ผู้นําเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ตามปกติ แต่ ในการนําเสนอ ผู้สอนควรกล่าวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์ที่ให้ล่วงหน้าไว้เป็นระยะๆ
ขั้นที่ 4 การจัดโครงสร้างความรู้
ผู้สอนส่งเสริมกระบวนการจัดโครงสร้างความรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ส่งเสริมการผสมผสานความรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวในการเรียนรู้ และทําความกระจ่างในสิ่งที่เรียนรู้ โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น
1. อธิบายภาพรวมของเรื่องที่เรียน 2. สรุปลักษณะสําคัญของเรื่อง 3. บอกหรือเขียนคํานิยามที่กะทัดรัดชัดเจน 4. บอกความแตกต่างของสาระในแง่มุมต่างๆ
5. อธิบายว่าเนื้อหาสาระที่เรียน สนับสนุนหรือส่งเสริมมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ ล่วงหน้าอย่างไร
6. อธิบามายความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระใหม่กับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ล่วงหน้า
7. ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน 8. อธิบายแก่นสําคัญของสาระที่เรียนโดยใช้คําพูดของตัวเอง
9. วิเคราะห์สาระในแง่มุมต่างๆ
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผลโดยตรงที่ผู้เรียนจะได้รับก็คือเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและข้อมูลของ บทเรียนอย่างมีความหมาย เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนและสามารถจัดโครงสร้าง ความรู้ของ ตนเองได้ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะและอุปนิสัยในการคิด และเพิ่มพูนความใฝ่รู้
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา (Memory Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นโดย จอยส์และวีล (Joyce & Weil,1996 : 209 - 231) โดย อาศัยหลัก 6 ประการ คือ
1. การตระหนักรู้ (awareness) ซึ่งกล่าวว่า การที่บุคคลจะจดจําสิ่งใดได้ดีนั้น จะต้องเริ่มจากการรับรู้สิ่งนั้น หรือการสังเกตสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ
2. การเชื่อมโยง (association) กับสิ่งที่รู้แล้วหรือจําได้
3. ระบบการเชื่อมโยง (link system) คือระบบในการเชื่อมความคิดหลายความคิด เข้าด้วยกันในลักษณะที่ความคิดหนึ่งจะไปกระตุ้นให้สามารถจําอีกความคิดหนึ่งได้
4. การเชื่อมโยงที่น่าขบขัน (ridiculous association) การเชื่อมโยงที่จะช่วยให้ บุคคลจดจําได้ดีนั้น มักจะเป็นสิ่งที่แปลกไปจากปกติธรรมดา การเชื่อมโยงในลักษณะที่แปลก เป็นไป ไม่ได้ ชวนให้ขบขัน มักจะประทับในความทรงจําของบุคคลเป็นเวลานาน
5. ระบบการใช้คําทดแทน
6. การใช้คําสําคัญ (key Word) ได้แก่ การใช้คํา อักษรหรือพยางค์เพียงตัวเดียว เพื่อช่วยกระตุ้นให้จําสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวกันได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยให้ผู้เรียนจดจําเนื้อหาสาระที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน และได้เรียนรู้กลวิธีการจํา ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่นๆ ได้อีก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระใดๆ ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนจดจําเนื้อหา สาระนั้นได้ดีและนานโดยดําเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 การสังเกตหรือศึกษาสาระอย่างตั้งใจ
ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในสาระที่เรียน โดยการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ให้สีดเส้นใต้คําประเด็นที่สําคัญ ให้ตั้งคําถามจากเรื่องที่อ่าน ให้หาคําตอบของคําถามต่างๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การสร้างความเชื่อมโยง
เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาสาระที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆ ที่ต้องการจดจํากับสิ่งที่ตนคุ้นเคย เช่น กับคํา ภาพ หรือความคิดต่างๆ (ตัวอย่างเช่น เด็กจําไม่ได้ว่าค่าย บางระจัน อยู่จังหวัดอะไร จึงโยงความคิดว่า ชาวบ้านบางระจันเป็นคนกล้าหาญ สัตว์ที่ถือว่าเก่งกล้า คือ สิงโต บางระจันจึงอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี) หรือให้หาหรือคิดคําสําคัญ ที่สามารถกระตุ้นความจําในข้อมูล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น สูตร 4 M หรือทดแทนคําที่ไม่คุ้นหรือยากด้วยคํา ภาพ หรือความหมายอื่น หรือ การใช้คําเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 3 การใช้จินตนาการ
เพื่อให้จดจําสาระได้ดีขึ้น ให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการเชื่อมโยงสาระต่างๆ ให้เห็นเป็น ภาพที่น่าขบขัน เกินความเป็นจริง
ขั้นที่ 4 การใช้เทคนิคต่างๆ ที่ทําไว้ข้างต้น ในการทบทวนความรู้และเนื้อหาสาระ ต่างๆ จนกระทั่งจดจําได้
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
การเรียนโดยใช้เทคนิคช่วยความจําต่างๆ ของรูปแบบ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียน สามารถจดจําเนื้อหาสาระต่างๆ ที่เรียนได้ดีและได้นานแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กลวิธีการจํา ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่นๆ ได้อีกมาก
1.5 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
โจนส์และคณะ (Jones et al., 1989 : 20 – 25) คล้าก (Clarke, 1991 : 526 – 534) จอยส์และคณะ (Joyce et al., 1992 : 159 - 165) ได้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกขึ้น โดยใช้ แนวคิดทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) ซึ่งกล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบสําคัญ3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ความจําข้อมูล (information storage) กระบวนการทางปัญญา (cognitive processes) และ เมตาคอคนชัน (metacognition) ความจํา ข้อมูลประกอบด้วย ความจําจากความรู้สึกสัมผัส (sensory memory) ซึ่งเป็นความจําที่เกิดขึ้นหลังจากการ ตีความสิ่งเร้าที่รับรู้มาแล้ว และจะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราวประมาณ 20 วินาที ความจําประเภทนี้ทําหน้าที่ ในการคิด (mental operation) ส่วนความจําระยะยาว (long term memory) เป็นความจําที่มีความคงทน มี ขนาดความจุไม่จํากัด สามารถคงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อต้องการใช้จะสามารถเรียกคืนได้ สิ่งที่อยู่ในความจำระยะยาวมี 2 ลักษณะ คือ ความจําเหตุการณ์ (episodic memory) และความจําความหมาย
(semantic memory) เกี่ยวกับข้อเท็จจริงมโนทัศน์ กฎ หลักการต่างๆ องค์ประกอบด้านความจําข้อมูลนี้จะ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางปัญญาของบุคคลนั้นซึ่งประกอบด้วย
ก. การใส่ใจ (attention) หากบุคคลมีความใส่ใจในข้อมูลที่รับเข้ามาทางการสัมผัส (sensory memory) ข้อมูลนั้นก็จะถูกนําเข้าไปสู่ความจําระยะสั้น (short term memory) ต่อไป หากไม่ได้ รับการใส่ใจ ข้อมูลนั้นก็จะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว
ข. การรับรู้ (perception) เมื่อบุคคลใส่ใจในข้อมูลใดที่รับเข้ามาทางประสาท สัมผัส บุคคลนั้นก็จะรับรู้ข้อมูลนั้น และนําข้อมูลนี้เข้าสู่ความจําระยะสั้นต่อไป ข้อมูลที่รับรู้นี้ จะเป็น ความจริงตามการรับรู้ (perceived reality) ของบุคคลนั้น ซึ่งอาจไม่ใช่ความจริงเชิงปรนัย (objective reality) เนื่องจากเป็นความจริงที่ผ่านการตีความจากบุคคลนั้นมาแล้ว
ค. การทําซ้ํา (rehearsal) หากบุคคลมีกระบวนการรักษาข้อมูล โดยการทบทวนซ้ํา แล้วซ้ําอีก ข้อมูลนั้นก็ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในความปฏิบัติการ
ง. การเข้ารหัส (encoding) หากบุคคลมีกระบวนการสร้างตัวแทนทางความคิด (mental representation) เกี่ยวกับข้อมูลนั้น โดยมีการนําข้อมูลนั้นเข้าสู่ความจําระยะยาวและเชื่อมโยงเข้า กับสิ่งที่มีอยู่แล้วในความจําระยะยาว การเรียนรู้อย่างมีความหมายก็จะเกิดขึ้น
จ. การเรียกคืน (retrieval) การเรียกคืนข้อมูลที่จําไว้ในความจําระยะยาว เพื่อนํา ออกมาใช้ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเข้ารหัส หากการเข้ารหัสทําให้เกิดการเก็บจําได้ดี มีประสิทธิภาพ การเรียกคืนก็จะมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
ด้วยหลักการดังกล่าว การเรียนรู้จึงเป็นการสร้างความรู้ของบุคคล ซึ่งต้องใช้ กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 4ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเลือกรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน (selecting relevant information) และ 2. การจัดระเบียบข้อมูลเข้าสู่โครงสร้าง (coherent structure) รวมทั้ง 3. การบูรณาการข้อมูล (integrating) และ 4. การเข้ารหัส (encoding) ข้อมูลการเรียนรู้ เพื่อให้คงอยู่ใน ความจําระยะยาว และสามารถเรียกคืนมาใช้ได้โดยง่าย (Mayer, 1984 : 30 – 33) ด้วยเหตุนี้ การให้ผู้เรียน มีโอกาสเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับโครงสร้างความรู้เดิมๆ และนําความรู้ความเข้าใจมาเข้ารหัสหรือสร้าง ตัวแทนทางความคิดที่มีความหมายต่อตนเองขึ้น จะส่งผลให้การเรียนรู้นั้นคงอยู่ในความจําระยะยาว และ สามารถเรียกคืนมา
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและ ามเข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้ และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การจดจํา
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก มีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะนําเสนอไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ โจนส์และคณะ (1989 : 20-25) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สําคัญๆ 5 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้
1.1. ผู้สอนเสนอตัวอย่างการจัดข้อมูลด้วยผังกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาและ วัตถุประสงค์
1.2. ผู้สอนแสดงวิธีการสร้างผังกราฟิก 1.3. ผู้สอนชี้แจงเหตุผลของการใช้ผังกราฟิกนั้นและอธิบายวิธีการใช้
1.4. ผู้เรียนฝึกการสร้างและใช้ผังกราฟิกในการทําความเข้าใจเนื้อหาเป็น รายบุคคล
1.5. ผู้เรียนเข้ากลุ่มและนําเสนอผังกราฟิกของตนแลกเปลี่ยนกัน
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของคล้าก (Clark, 1991 : 526 - 534) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สําคัญ ๆ ดังนี้
ก. ขั้นก่อนสอน
2.1 ผู้สอนพิจารณาลักษณะของเนื้อหาที่จะสอนสาระนั้นและวัตถุประสงค์ ของการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
2.2 ผู้สอนพิจารณาและคิดหาผังกราฟิกหรือวิธีหรือระบบในการจัดระเบียบ เนื้อหาสาระนั้นๆ
2.3 ผู้สอนเลือกตั้งกราฟิก หรือวิธีการจัดระเบียบเนื้อหาที่เหมาะสมที่สุด
2.4 ผู้สอนคาดคะเนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในการใช้ผังกราฟิกนั้น ข. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาสาระแก่ผู้เรียน
2.2 ผู้เรียนทําความเข้าใจเนื้อหาสาระและนําเนื้อหาสาระใส่ลงในผังกราฟิก ตามความเข้าใจของตน
2.3 ผู้สอนซักถาม แก้ไขความเข้าใจผิดของผู้เรียนหรือขยายความเพิ่มเติม
2.4 ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเพิ่มเติม โดยนําเสนอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อหา แล้วให้ผู้เรียนใช้ผังกราฟิกเป็นกรอบในการคิดแก้ปัญหา
2.5 ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน
3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของจอยส์และคณะ (Joyce et al., 1992 : 159 - 161)
จอยส์และคณะ นํารูปแบบการเรียนการสอนของคล้ากมาปรับใช้โดยเพิ่มเติม ขั้นตอนเป็น 8 ขั้น ดังนี้
3.1 ผู้สอนชี้แจงจุดมุ่งหมายของบทเรียน
3.2 ผู้สอนนําผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
3.3 ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม เพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์ กับความรู้ใหม่
3.4 ผู้สอนเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
3.5 ผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เรียนกับผังกราฟิกและให้ผู้เรียนนําเนื้อหา สาระใส่ลงในผังกราฟิกตามความเข้าใจของตน
3.6 ผู้สอนให้ความรู้เชิงกระบวนการ โดยชี้แจงเหตุผลในการใช้ผังกราฟิก และ วิธีใช้ผังกราฟิก
3.7 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา
3.8 ผู้สอนซักถาม ปรับความเข้าใจและขยายความเข้าใจให้ผู้เรียนเกิดความ เข้าใจกระจ่างชัด
4. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของสุปรียา ตันสกุล (2540 : 40)
สุปรียา ตันสกุล ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ผลของการใช้รูปแบบการสอนแบบการจัด ข้อมูลด้วยแผนภาพ (Graphic Organizers) ที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและความสามารถในการ แก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและความสามารถทางการ แก้ปัญหาสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 รูปแบบการเรียนการ สอนดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 7 ขั้นตอน ดังนี้
4.1 การทบทวนความรู้เดิม
4.2 การชี้แจงวัตถุประสงค์ ลักษณะของบทเรียน ความรู้ที่คาดหวังให้เกิดแก่ ผู้เรียน
4.3 การกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความรู้เดิม เพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์ กับสิ่งที่เรียนและการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ
4.4 การนําเสนอตัวอย่างการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพที่เหมาะสมกับ ลักษณะของเนื้อหา ความรู้ที่คาดหวัง
4.5 ผู้เรียนรายบุคคลทําความเข้าใจเนื้อหาและฝึกใช้แผนภาพ
4.6 การนําเสนอปัญหาให้ผู้เรียนใช้แผนภาพเป็นกรอบในการแก้ปัญหา
4.7 การทําความเข้าให้กระจ่างชัด
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน และจดจําสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีในการเรียนรู้ต่างๆ นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้การใช้กราฟิกในการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่นๆ ได้อีกมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น