19.2.62

การเรียนรู้แบบความร่วมมือ

           ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ได้รับการยืนยันจากการวิจัยทั้งการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง และในภาคสนาม การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริงๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การประเมินผลรวม ได้ผลว่าการ เรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่า กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3.) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้แบบร่วมมือ และ 4.) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้น ทุกเนื้อหาวิชา และทุกงาน (ภาระงาน) ด้วยความมั่นใจ ความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆทางการศึกษา ผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1989a) สรุปได้ 3ประเภท คือ ความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสุขภาพจิต 
ทักษะแห่งความร่วมมือ
            Johnson and Johnson (1991,1994) กล่าวว่า ทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสำเร็จในความพยายามร่วมมือกัน ทักษะแห่งความร่วมมือมี 4 ระดับ
            1. ระดับนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือให้ทำหน้าที่ได้ เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งจัดการเรียนรู้และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ พฤติกรรมที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะดับสร้างนิสัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
            เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน เวลาทำงานเป็นกลุ่มสิ่งมีค่า จึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียนให้น้อยที่สุดตามความจำเป็น นักเรียนอาจจำเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลายๆ ครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
            อยู่ประจำกลุ่ม นักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทำงานไม่ก่อให้เกิดผลดี และยังรบกวนสมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
            พูดเบาๆ แม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยระหว่างกลุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดังเกินไป ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้ค่อยกำกับคนอื่นให้พูดเบาๆ
            กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สมาชิกทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันใช้สื่อการเรียน และมีส่วนร่วมในความพยายามให้กลุ่มบรรลุผล การให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นวีหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
            2. ระดับสร้างบทบาท (function) ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อทำงานให้
สำเร็จและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่ม ทักษะระดับที่สองนี่ เน้นที่การจัดการความพยายามของกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้สมาชิกในกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทำงาน การหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้างบรรยากาศการทำงานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้น ถือว่าเป็นการผสมผสานอันสำคัญที่จะนำไปสู่กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
            แนะแนวทางการทำงานของกลุ่ม โดย (1) แจ้งและย้ำความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย (2) เตือนให้ใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ และ (3) เสนอขั้นตอนว่าจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด
            -แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับ ทั้งการใช้คำพูดและแสดงท่าทาง โดยใช้การมองสบตา แสดงความสนใจ ชมเชยแสวงหาความคิด และข้อสรุปของผู้อื่น
            -ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทำในกลุ่ม
           - เสนอให้คำอธิบายหรือชี้แจ้ง
           - แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
           - เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นแรงจูงใจลดลง โดยเสนอแนะความคิดใหม่ใช้อารมณ์ขัน หรือแสดงความกระตือรือร้น
            -บรรยายความรู้สึกตนเมื่อมีโอกาสเหมาะ
            3. ระดับสร้างระบบ (formulating) เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกในเนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อเสริมสร้างให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของความรู้ที่ได้จากงานปฏิบัติ ทักษะระดับที่สามนี้ทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จำเป็นในการสร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียน กระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน เนื่องจากความมุ่งหมายของกลุ่มการเรียนรู้คือ ต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิก ทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธการในการจัดระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระสร้างระบบสามารถดำเนินไปได้ในขณะที่สมาชกกลุ่มรับบาทต่าง ๆกัน บทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
            -ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่าน หรืออภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้โดยไม่อาศัยร่างบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับ ควรสรุป ข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วย สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้
           - ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวังเรื่องความถูกต้อง โดยคอยแกไขข้อสรุปของสมาชิก และเพิ่มเติมข้อสนเทศที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
            -ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่น ๆ เชื่อมโยงความรู้ที่กำลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆ ที่สมาชิกเหล่านั้นรู้
            -ผู้ช่วย จำเป็นหาวิธีการที่ดีในการจดจำข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญ โดยการใช้ภาพวาด สร้างมโนภาพ หรือวิธีจำอื่น ๆ แล้วนำมาร่วมหารือในกลุ่ม
            -ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
           - ผู้ขอความช่วยเหลือ เป็นผู้เลือกคนที่ค่อยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม รวมทั้งเป็นผู้ตั้งคำถามที่ชัดเจนและตรงประเด็น และทำอยู่อย่างนั้นจนกว่าความช่วยเหลือจะสำเร็จ
            -ผู้อธิบาย เป็นผู้บรรยายวิธีการทำงานให้สำเร็จ (โดยไม่ให้คำตอบ) ให้ขอมูลย้อนกลับที่เจาะจงเกี่ยวกับงานนักเรียนอื่น และสุดท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทำงานให้สำเร็จ
            -ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบาย เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนอหาความรู้ให้ให้นักเรียนคนอื่นโดยละเอียด การวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด มีผลต่อคุณภาพกลยุทธ์การให้เหตุผลและความคงทนของความรู้
            4. การสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างการรับรู้เหตุผลในสิ่ง
ที่เรียนระดับความขัดแย้งด้านการรู้คิด (อภิปัญญา) การค้นหาความรู้เพิ่มเติม และกรสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการสรุปผล ทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่ 4 ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย้งทางวิชาการได้ประเด็นสำคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผล และการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่ว การโต้แย้งทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่ม “เจาะลึก” ในเนื้อหาความรู้ที่เรียนระดมหลักเหตุผลในข้อสรุป คิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหา หาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตนและอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งทางวิชาการได้แก่
            -วิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน
            -แบ่งแยกความแตกต่าง เมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
            -บูรณาการความคิดหลายความคิดในเป็นจุดยืนเดียว
            -ขอคำชี้แจ้งในเรื่องการสรุปผลหรือคำตอบของสมาชิก
            -ขยายความสรุปหรือคำตอบของสมาชิกอื่น โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงนัยที่นอกเหนือออกไป
            -ตรวจสอบโดยการตั้งคำถามซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไปหรือการวิเคราะห์ (“มันจะได้ผลหรือไม่ในสถานการณ์นี้..” “มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้คุณเชื่อ....”)
            -ให้คำตอบถูกลงไปโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคำตอบหรือข้อสรุปแรก ให้คำตอบที่มีความเป็นไปได้หลายๆคำตอบให้เลือก
            -ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทำงานเวลาที่มีและปัญหาที่กลุ่มเผชิญ
            -ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คำตอบที่ลึกมีคุณภาพสูง
นอกเหนือจากคำตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลันโดยการกระตุ้นการคิดและความอยากรู้อยากเห็นทางพุทธิปัญญาของสมาชิกกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น