27.4.62

การกำหนดคุณภาพผลการเรียนรู้

 The SOLO taxonomy
          The SOLO taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่าง ๆ กันของคำถาม และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนที่เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงานทางวิชาการ โดยที่นิยมจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
          การใช้ SOLO Taxonomy ในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้  จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น  แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขา  การประเมินความสามรถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi- structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) และ (5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO Taxonomy คำถามแลการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน

          ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ SOLO Taxonomy
          การปรับใช้ SOLO Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้ ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมาย อาทิ
          ในการสอนครูสอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร ครูสอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถ (แทนสิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น  คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี / ไม่ดี) และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดี การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้  สรุปได้ว่า
·       ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น (ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้ (Learning )ผลผลิต(Outcomes)
·       การทดสอบสมรรถ                       ILO’ s                         การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ  ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
         การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด  SOLO Taxonomy  การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช้เรียนแบบผิวเผิน
                   SOLO 4 :      การพูดอภิปราย  สร้างทฤษฎี ทำนายหรือพยากรณ์
                   SOLO 3 :      อธิบาย  วิเคราะห์  เปรียบเทียบ
                   SOLO 2 :      บรรยาย  รวมกัน  จัดลำดับ
                   SOLO 1 :      ท่องจำ  ระบุ   คำนวณ
         บทบาทของการสอบ
         การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน”  แนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน  นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
         ทฤษฎีการวางแผน  (ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
         ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ  (และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
         ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด การสอบคล้ายกับ การเปลี่ยนจากความชั่วร้าย เป็นการสร้างแรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้ (learning guiding) ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
         การจัดลำดับขั้นตอนของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม (Bloom  Taxonomy 1956) เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด (SOLO Taxonomy  ของ Biggs  & Collis 1982)
         SOLO 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม  ในขั้นความรู้ (จำ) ความเข้าใจ และการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
         SOLO 3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม  ในขั้นการวิเคราะห์  สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น