27.4.62

การประเมินอิงมาตราฐาน

          S  :  การประเมินอิงมาตรฐาน  (Standard  Based  Assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตการเรียนรู้  (Structure  of  Observed  Learning Outcomes)  รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
          มาตรฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียน  มาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการสอนที่ประสบผลดีที่สุดสำหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุด  เมื่อผู้สอนมองการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่า  การสอนตอบสนองต่อมาตรฐาน เพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคำถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐาน  ดังนี้
          ใครกำลังสอนมาตรฐานใด  เพื่อตอบคำถามว่า  ใครสอนมาตรฐานอะไร  ไม่ใช่ใครสอนหัวข้อใด
          ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง  โดยวิธีใด เพื่อตอบคำถามว่า ใครประเมินฐานใด  โดยวิธีใด
         การนำมาตรฐานมาใช้เพื่อกำหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานใด  แต่การเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอ  ส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลย  มาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาใช้ในการสอนและการประเมิน  ช่วยตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและประเมินอะไรในระดับใดชั้นใด  และวิชาใด โดยวิธีใด  สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานได้นำมาใช้สอนและประเมินผลในชั้นเรียน
          แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่  ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง  มีสิ่งใดบ้างที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
          ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอ  และแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
         มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  มาตรฐานจะทำให้เกิดโครงการสร้างซึ่งนำไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้ คือ
          มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น