การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง
การนำผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interretation) และตัดสินคุณค่า (Value
Judgement) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ได้แค่ไหน
มีคุณภาพดีหรือไม่ดีเพียงใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ประการใด
จะเห็นว่า การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
กระทำได้โดยการพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อนั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อจึงมีความสำคัญ
การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการเหตุผลและเป็นระบบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง การวัดผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง
การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ
ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่
แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นต้น
ขั้นตอนของการวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน
1.การวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง
ในเบื้องแรก การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural) และการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้
1.1 การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis) การตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ปรากฏในสื่อ
ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
ถ้าส่วนที่ปรากฏภายในมีลักษณะชัดเจน ง่าย และสะดวกแก่การรับรู้
สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร
การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ลักษณะสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อ
- ลักษณะสื่อ ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ
ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม
ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ
ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก
1.) ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อสื่อแต่ละประเภทมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ
สื่อการเรียนการสอนบางประเภทจะทำหน้าที่เพียงให้สาระข้อมูล
บางประเภทจะให้ทั้งสาระและกำหนดให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยในสื่อบางประเภท เช่น
สื่อสำหรับการศึกษารายบุคคล สื่อที่เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลอาจจะเสนอได้หลายรูปแบบ
ซึ่งอาจจะให้ความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมมากน้อยแตกต่างกัน ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือของจริง
ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลใช้ประสาทสัมผัสได้มากช่องรับสัมผัสกว่าสื่ออื่น
ที่มีความเป็นรูปแบบรองลงมา ได้แก่ ของตัวอย่าง ของจำลอง เป็นต้น
2)มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards) การออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยการนำส่วนประกอบต่างๆ
ตามประเภทของสื่อและองค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา
เพื่อประโยชน์ของการสื่อสาระตามความคาดหมาย
องค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในที่นี้ได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย
หลักการสอน กระบวนการสื่อสารและลักษณะเฉพาะเรื่อง เป็นต้น
3)มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical
standards) เทคนิควิธีการเสนอสื่อ
เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรเน้นในที่นี้คือ เทคนิควิธีที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน
ต้องเป็นเทคนิควิธีการทางการศึกษากล่าวคือ
เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้การเสนอสาระเป็นไปอย่างชัดเจน
ไม่คลุมเครือหรือไม่ซ่อนเร้นสาระเพื่อให้มีการเดาในด้านการนำเสนอต้องน่าสนใจ
ตื่นหู ตื่นตา ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมือน
ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย
มีความกระชับและสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่วัตถุประสงค์กำหนด
อีกทั้งเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง
-เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระที่ปรากฏในสื่อการเรียนการสอนนั้น
ผู้ผลิตสื่อได้บรรจุลงในสื่อโดย ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา
การออกแบบและการใช้เทคนิควิธีการดำเนินการเพื่อเสนอสาระให้ปรากฏตาม
ลักษณะประเภทของสื่อ เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง
ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตาม เนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา
เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้อง ปรากฏอย่างชัดเจน
อีกทั้งต้องมีลำดับของการเสนอเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย ไม่สับสน
หรือวกวน การยกตัวอย่าง และหรือการกำหนดกิจกรรมต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ
และช่วยสนับสนุนเนื้อหาสาระให้มีความกระจ่าง และน่าสนใจ
2.การตรวจสอบคุณภาพสื่อ(Qualitative basis) ในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี
2 แบบ คือ
2.1 แบบทดสอบ แบบทดสอบ ที่ใช้ในที่นี้
เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรเป็นแบบทดสอบที่มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) สูง
และสามารถวัดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ในแต่ละจุดประสงค์
โดยทั่วไปการพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
2) พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ
แล้ว คำนวนจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 3) สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ
โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 4) พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง
และการแก้ไขปรับปรุงแบบทดสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญสร้างแบบทดสอบ 5) นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้เรื่อง
เนื้อหาในสื่อแล้ว 6) วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น
ความตรงเชิงเนื้อหา และ ค่าความยากง่าย 7) คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
และสามารถวัดตาม เกณฑ์กำหนดสำหรับแต่ละวัตถุ
2.2 แบบสังเกต ในระหว่างการทดลองใช้สื่อ
ผู้ตรวจสอบควรจะสังเกตและบันทึกการแสดงของสื่อ
และพฤติกรรมการใช้สื่อในการเรียนการสอนของผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง
สิ่งสำคัญที่ควรสังเกตและบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือ 1) ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable) 2) การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย
เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของเสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ 3) การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น
ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticeable) 4) ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม
ทั้งเวลาการนำเสนอ และตอบสนองอีกทั้ง
ระยะเวลาในการสื่อสารเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน 5) วิธีการใช้ที่ง่าย
สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนผู้เรียนสนใจ และ ติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น