ในการใช้สื่อการสอนนั้น
ผู้สอนควรจะมีการวางแผนการใช้สื่ออย่างรัดกุม และเป็นระบบ
ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปฎิบัติ
ซึ่งจะทำให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจในการใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด ตามความสามารถของแต่ละบุคคล
และตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้
การวางแผนการใช้สื่อการสอนโดยใช้แนวคิดของ วิธีระบบ
เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้การวางแผนการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ” The ASSURE Model” เป็นแบบจำลองที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้
เพื่อวางแผนการใช้สื่อกสารสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
แบบจำลอง The ASSURE Model มีรายละเอียดดังนี้
Analyze
learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน
จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะทั่วไป
เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน
แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ
ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
2. ลักษณะเฉพาะ
เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน
ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน
เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง
2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน
State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
การเรียนการสอน ในแต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
ซึ่งควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด
และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน
เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ
1. พุทธิพิสัย
เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ
สติปัญญา และการพัฒนา
2. จิตตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด
ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
3. ทักษะพิสัย
เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
Select
instructional methods, media, and materials การเลือก
ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่
การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ
การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน
ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
• ลักษณะผู้เรียน
• วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
• เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
• สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด
การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน
ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่
ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้
การออกแบบสื่อใหม่
กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้
หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย
ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่
Utilize media and materials (การใช้สื่อ)
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1.
ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้
ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่
และทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน
2.
เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่
การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่
สิ่งอำนวยความสะดวก แสง การระบายอากาศ และอื่น ๆ
ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
3.
เตรียมผู้เรียน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น
จะต้องมีการเตรียม
ผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ โดย
การแนะนำสิ่งที่จะนำเสนอ อาจจะเป็นเรื่องย่อ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
การเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการฟังหรือดูสิ่งที่ผู้สอนนำเสนออันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีได้
4.
การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน
ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น
ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้
4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ
โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ
หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสมที่ติดเป็นนิสัย เช่น หักนิ้ว บิดข้อมือ กดปากกา
พูดเสียง เอ้อ………อ้า…… เพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจ ท่าทางเหล่านี้แทน
4.2 ท่าทางการยืน ต้องยืนหันหน้าให้ผู้เรียน
ถ้ายืนเฉียงก็ต้องหันหน้าหาผู้เรียนไม่ควรหัน ข้างหรือหันหลังให้ผู้เรียน
4.3 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง
4.4 ประเมินความสนใจของผู้เรียน
โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน
และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
4.5 อย่าใช้เวลาเตรียมสื่อนานเกินไปจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4.6 นำเสนอให้ถูกวิธีตามที่ได้มีการทดลองใช้มาก่อนแล้ว
Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)
การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย ( overt respone ) โดยการพูดหรือเขียน
และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน ( covert response ) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ
เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที
เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่
โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว
จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า
การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน
จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ
ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน
เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม
ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด
รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น