1.การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว
ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง
โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
หลักการเลือกสื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอน
ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน
เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น
1) สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2) เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย
น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน
เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
3) เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น
ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
4) สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้
มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5) ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี
มีความชัดเจนและเป็นจริง
6) มีราคาไม่แพงจนเกินไป
หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน
นอกจากนี้แล้วการจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น
ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1)
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2)
จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ เช่น
– ใช้นำเข้าสู่บทเรียน
– ใช้ในการประกอบคำอธิบาย
– ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียน
– ใช้เพื่อสรุปบทเรียน
3)
ต้องเข้าใจลักษณะของเฉพาะของสื่อแต่ละชนิดว่าสามารถเร้าความสนใจ
และให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น
– หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์
ใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง
– ของจริงและของจำลอง
ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
– แผนภูมิ แผนภาพและแผนสถิติ
ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล
– สไลด์
ใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้
4)
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
2.การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3.การออกแบบผลิตสื่อใหม่
ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน
เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้
แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1) จุดมุ่งหมาย
ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2) ผู้เรียน
ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3) ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4) ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค
ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5) เครื่องมืออุปกรณ์
มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6) สิ่งอำนวยความสะดวก
มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7) เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น